ศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตพื้นที่สามเหลี่ยม ปากแม่น้ำยม-น่าน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

ชนัณท์ธิณิดา กิตติอนันต์ธาดา
พระครูนิวิฐศีลขันธ์ เชื้อศรี
พระราชรัตนเวที โชติธมฺโม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำยม-น่าน 2. เปรียบเทียบศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำยม-น่าน และ 3. เสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำยม-น่าน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจจากแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือประชาชน ที่อยู่ในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำยม-น่าน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 392 คน ใน 2 ตำบล คือ ตำบลเกยไชยและตำบลท่าไม้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสังคมศาสตร์ เปรียบเทียบโดยสถิติเชิงอนุมาน


ผลการวิจัย พบว่า


  1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำยม-น่าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.15)

  2. ผลเปรียบเทียบศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำยม-น่าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

  3. การพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำยม-น่านอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ควรมี 1) การจัดการท่องเที่ยวบนฐานทรัพยากร ธรรมชาติ วิถีชีวิต และประเพณีวัฒนธรรมที่มีอยู่ 2) การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทางวัฒนธรรมประจำตำบลเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจกับนักท่องเที่ยว 3) การจัดกิจกรรมเสริมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในพื้นที่ และ 4) การส่งเสริมการอนุรักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถานการณ์การท่องเที่ยวปี 2561 และแนวโน้มปี 2562. เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=11273.

2. ชลดา บุญอยู่. (2556). ทุนทางสังคมกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กรณีศึกษาบ้านเกาะพิทักษ์ตำบลบางน้ำจืดอำเภอหลังสวนจังหวัดชุมพร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

3. นพรัตน์ ศุทธิถกล. (2555). รูปแบบการจัดการตลาดน้ำเพื่อการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชน. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

4. นิสารัตน์ จุลวงศ์. (2553). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรล่องเรือชมสวนเลียบคลองมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

5. ประภัสสร แจ้งโพธิ์. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ : กรณีศึกษาตลาดน้ำสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

6. พจนา สวนศรีและสมภพ ยี่จอหอ. (2556). คู่มือมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

7. พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ . (2557). การพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา หมู่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่. (รายงานวิจัย). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

8. วิภาวี อินทราคม. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจบริโภคผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวเกาะสีชังจังหวัดชลบุรีของนักท่องเที่ยวชาวไทย. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.