การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่บางอ้อ กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่บางอ้อ กรุงเทพมหานคร และ 2. เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่บางอ้อ กรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความมีนัยสำคัญระหว่างค่าเฉลี่ยเลขคณิตแบบ t-test และ F-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบภายหลังโดยใช้วิธี LSD ผลการวิจัย พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่บางอ้อ กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่บางอ้อ กรุงเทพมหานคร พบว่า ประชาชนที่มีเพศแตกต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ประชาชนที่มีอายุและอาชีพที่แตกต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กฤษณ์ มีบำรุง. (2556). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม: กรณีศึกษา ชุมชนมัสยิดมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.
ณรงค์ เหล่าคุปตะวาณิชย์, รังสรรค์ ประเสริฐศรี, สุรวุฒิ ปัดไธสง. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 2(1).
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2546). การมีส่วนร่วม หลักการพื้นฐาน เทคนิคและกรณีตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: 598 Print.
ประเสริฐ เมฆมณี. (2533). ตำรวจและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
ปรีชา สาวม่วง. (2553). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของผู้นำชุมชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในเขตอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไพโรจน์ ขุนหมื่น. (2548). การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการตำรวจชุมชนสัมพันธ์ของสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.