สังคหวัตถุ: แนวทางป้องกันความขัดแย้งวิถีพุทธ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางป้องกันความขัดแย้งวิถีพุทธเพราะมนุษย์ไม่สามารถอาศัยอยู่ในโลกนี้เพียงลำพังคนเดียวได้ต้องอยู่รวมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปและขยายเป็นสังคมที่กว้างใหญ่ขึ้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวเป็นสังคมมีทั้งผลดีและผลเสีย ผลดี คือ มีความปลอดภัยในการดำรงชีวิต มีกำลังใจในการทำงานที่เกินกว่าคนเดียวจะกระทำได้ มีพลังทางความคิดที่สร้างสรรค์ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็ย่อมมีผลเสียด้วยเช่นเดียวกัน คือ ความขัดแย้งในมิติต่าง ๆ เช่น ความขัดแย้งภายในครอบครัว ความขัดแย้งในชุมชน ความขัดแย้งในสถานที่ทำงานตลอดจนความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม และประเทศชาติซึ่งเกิดจากสาเหตุและปัจจัยหลายด้าน ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาแล้วนั้นแม้ว่าจะมีกระบวนการในการระงับ หรือแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นแต่สิ่งที่คงอยู่ทั้งฝ่ายที่ถูกต้องหรือฝ่ายที่ผิด คือ ความพยาบาทที่เกิดขึ้นและเกาะกินให้เกิดเป็นบาดแผลภายในจิตใจซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์ ดังนั้น การป้องกันความขัดแย้งจึงเป็นวิธีที่ดีโดยนำหลักสังคหวัตถุมาประยุกต์ใช้ คือ 1. โอบอ้อมอารี 2. วจีไพเราะ 3. สงเคราะห์ผู้คน และ 4. วางตนเหมาะสมเป็นแนวทางในการป้องกันสาเหตุของความขัดแย้ง 5 ประการ คือ ความต้องการ การรับรู้ อำนาจ ค่านิยม ความรู้สึกและอารมณ์
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2550). การจัดการความขัดแย้งในองค์กร. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.
พระเทพปริยัติเมธี (สฤษดิ์ สิริธโร). (2553). ภาวะผู้นําเชิงพุทธกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย: วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2553). ความขัดแย้งและการแก้ปัญหา. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 8(1), 5-15.
วันชัย วัฒนศัพท์. (2537). ความขัดแย้ง: หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 30). กรุงเทพฯ: มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต.
Henkin, A.B. et.al. (2000). Conflict management strategies of principals in site-based managed schools. Journal of Educational Administration, 38(2), 142–158.