ฆราวาสธรรม: การป้องกันการฆ่าตัวตายที่มีสาเหตุเกิดจากปัญหาด้านความสัมพันธ์

Main Article Content

พระครูพิฑูรนคราภิรักษ์ (อนุชาติ นรินฺโท)
พระมหาสุเมฆ สมาหิโต

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการป้องกันการฆ่าตัวตายที่มีสาเหตุเกิดจากปัญหาด้านความสัมพันธ์ตามหลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา ผลการวิจัย พบว่า การฆ่าตัวตายที่ปรากฏในทุกวันนี้เป็นปรากฏการณ์ที่สามารถพบเห็นได้ในการสื่อสารประเภทต่าง ๆ จากทุกสังคมในโลก ประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์การฆ่าตัวตายของประชาชนเช่นกัน จากสถิติการฆ่าตัวตายของกรมสุขภาพจิตเปิดเผยว่ามีคนไทยฆ่าตัวตายโดยเฉลี่ยวันละ 11-12 คนต่อประชากร 100,000 คน ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด ปัญหานี้สมาชิกในสังคมสามารถร่วมกันป้องกันได้โดยการนำหลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นหลักการครองเรือนมาใช้เป็นหลักพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคม ประกอบด้วย 1) ข่มจิต และรักษาใจ (ทมะ) 2) มอบให้ แบ่งบัน (จาคะ) 3) อดทน อดกลั้น (ขันติ) และ4) อยู่กันด้วยความจริงใจ (สัจจะ)

Article Details

How to Cite
พระครูพิฑูรนคราภิรักษ์ (อนุชาติ นรินฺโท), & สมาหิโต พ. . (2021). ฆราวาสธรรม: การป้องกันการฆ่าตัวตายที่มีสาเหตุเกิดจากปัญหาด้านความสัมพันธ์. วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 255–268. https://doi.org/10.14456/jra.2021.57
บท
บทความวิชาการ

References

ไทยพีบีเอส. (2562). กรมสุขภาพจิตวอนสื่อระวังเสนอข่าวฆ่าตัวตาย หวั่นคนเลียนแบบ. เข้าถึงได้จาก https://news.thaipbs.or.th/content/ 283373.

ณัทธีร์ ศรีดี. (2560). พุทธจริยศาสตร์กับแนวคิดเรื่องการฆ่าตัวตาย. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 1(1), 25-39.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34). นนทบุรี: เอส.อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ ในเครือ บริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด.

สุพัตรา สุขาวห และสุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล. (2560). ปัจจัยเสี่ยงและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น: การทบทวนวรรณกรรมเชิงลึก. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 62(4), 359-378.

Berit, G. (1999). Family therapy, system theory and suicidal behavior. Norwegian journal Suicidologi, 2(1).

Durkheim, E. (1951). Suicide a Study in sociology. New York: American Book-Knickerbocker Press.

Kerr, M. E. & Bowen, M. (1988). Family Evaluation. New York: Norton & Company.

Orden K. V. (2010). The Interpersonal Theory of Suicide. Psychological Review, 117(2), 575–600.

Van Orden, K. A. (2014). The Interpersonal Theory of Suicide: A Useful Theory?. NY: Nova Science Publishers.