บทบาทของสตรีไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0

Main Article Content

อัญธิษฐา อักษรศรี
วันชัย แสงสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของสตรีไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0 พบว่า บทบาทของสตรีในยุคปัจจุบันเปลี่ยนไปเป็นอย่างมากในหลาย ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นบทบาทนอกบ้าน และบทบาทในบ้าน ผู้หญิงสมัยใหม่หลาย ๆ คนจะมีบทบาทหน้าที่การงานนอกบ้านมากกว่า ทำให้หลาย ๆ คนต้องมีการพัฒนาตัวเองแทบจะทุก ๆ เรื่องเพื่อให้ทันต่อยุคและเหตุการณ์ในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะบทบาทการเป็นผู้นำในองค์กรที่ดี ผู้หญิงคนหนึ่งในนั้นที่ได้โอกาสเป็นสิ่งที่ท้าทายเป็นอย่างมาก เพราะการทำงาน ร่วมกับคนหรือ การบริหารบุคคลในองค์กรโดยเฉพาะการตัดสินใจสิ่งที่สำคัญ ๆ บทบาทของสตรีในประเทศไทยนั้นได้เพิ่มขึ้นกว่าในอดีตอย่างมากและพบว่า ผู้หญิงได้รับการยอมรับในสังคมมากขึ้น รัฐบาลได้มีกรอบทิศทางของยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรี พ.ศ.2560-2564 ซึ่งได้กำหนดกรอบความคิดไว้ 5 แนวทางเพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ ความจำเป็นในการดำเนินการเพื่อสร้างสังคมที่เท่าเทียมกัน และเผชิญกับประเด็นท้าทายต่าง ๆ ยุทธศาสตร์ 5 แนว คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ปรับเปลี่ยนเจตคติของสังคมในประเด็นความเสมอภาคเท่าเทียมกันระหว่างหญิงชายยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมพลัง เพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตแก่สตรีทุกกลุ่มและทุกระดับยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาเงื่อนไขและปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาสตรีที่มีประสิทธิผลและเสมอภาคยุทธศาสตร์ที่ 4 กำหนดมาตรการเฝ้าระวัง ขจัดปัจจัยเสี่ยงป้องกันคุ้มครองช่วยเหลือและเยียวยายุทธศาสตร์ที่ 5 สร้างความเข้มแข็งของกลไก และกระบวนการพัฒนาสตรีดังนั้นกระบวนการทำการเพื่อให้สตรีมีบทบาททางสังคมในยุคปัจจุบันทำให้สตรีต้องแข็งขันกับการดำเนินชีวิตมากขึ้น

Article Details

How to Cite
อักษรศรี อ., & แสงสุวรรณ ว. . (2021). บทบาทของสตรีไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 297–310. https://doi.org/10.14456/jra.2021.60
บท
บทความวิชาการ

References

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2563). รายงานการดำเนินงานการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปี 2562 ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรี พ.ศ. 2560-2564 / กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. กรุงเทพฯ: กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กิตติ์ธันญญา วาจาดี. (2562). บทบาท “สตรีไทย” ในยุคปัจจุบัน. เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/entertainment/detail/9620000021291.

สำนักประชาสัมพันธ์. (2562). บทบาทสตรีไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0. เข้าถึงได้จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/ac/download/article/article_20180517155757.pdf.

สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์. (2562). เสียงสะท้อนของสตรีกับการลดความเหลื่อมล้าทางเพศในภาคการเมืองและเศรษฐกิจ.เข้าถึงได้จาก https://www.ptp.or.th/news/562.