ปรับปรุงการจัดเก็บเอกสารและอุบัติเหตุด้วยหลักการ 5ส 3E 3R 5w1h กรณีศึกษา: โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการจัดเก็บเอกสารและอุบัติเหตุด้วยหลักการ 5ส 3E 3R 5w1h ของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นกองวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและอุตสาหกรรม กองการศึกษาของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช จำนวน 40 คน ผลการวิจัย พบว่า การจัดเก็บเอกสารและอุบัติเหตุ ประสบปัญหาด้านการค้นหาเอกสารที่ล่าช้า เนื่องจากการจัดเก็บเอกสารที่ไม่เป็นระบบ และยังมีการเกิดอุบัติเหตุเล็กน้อยจากการศึกษาของนักเรียนนายเรือ โดยได้มีการนำการวิเคราะห์ปัญหาแบบ 5w1h มาวิเคราะห์ปัญหาว่าเกิดจากอะไร และจากนั้นก็แก้ปัญหาด้วย หลัก Kaizen หลัก 5ส หลักการป้องกันอุบัติเหตุ 3E และหลักการจัดการขยะ3R เพื่อให้เกิดประโยชน์และความคุ้มค้าของทรัพยากร และยังลดความเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุ จากการนำหลักการ 5ส มาใช้ในการแก้ปัญหาและลดปัญหาได้จริง ผลปรากฏว่า ระยะเวลาค้นหาเอกสารลดลงจาก 3,780 นาที เป็น 1,620 นาที คิดเป็นปรับปรุงร้อยละ 57.14 และยังมีการลดค่าใช้จ่ายจากกระดาษที่ใช้ทำเอกสารและจากการปรับปรุงการเกิดอุบัติเหตุระยะในการสำรวจใน 1 เดือนก่อนปรับปรุง คือ 13 ครั้ง หลังทำการปรับปรุงใน 1 เดือน การเกิดอุบัติเหตุลดลงเหลือ 5 ครั้ง หรือลดลง คิดเป็นอัตราร้อยละ 61.53
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กิตติศักดิ์ เอี่ยมชัย. (2546). วิธีคิดเพื่อหาทางปรับปรุงตามแนวคิดของไคเซ็น. เข้าถึงได้จาก https://pasakornpasi tipab.blogspot.com/2016/09/kaizen_29.html.
วรวุฒิ บุญมาพบ. (2557). การประยุกต์แนวคิดแบบลีนเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างกรณีศึกษาบ้านเดี่ยว 2 ชั้น แบบมาตรฐาน บริษัท ภาพร พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด. (โครงงานวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
วันรัตน์ จันทกิจ. (2549). 17 เครื่องมือนักคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
สมจินต์ อักษรธรรม. (2561). การลดข้อบกพร่องในขั้นตอนการติดฉลากขวดแก้ว: กรณีศึกษาโรงงานน้ำตาลสดสเตอริไลส์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 2(1), 9-21.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2554). การดำเนินกิจกรรม 3E. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2554).การดำเนินกิจกรรม 5ส ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
สุวัฒน์ แซ่ดั่น. (2544). 5ส ที่คนไทยไม่รู้จัก. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).