ภาวะผู้นำเชิงพุทธของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร

Main Article Content

พระอธิการธนิต ธมฺมสาโร (รามโพ)
พระเทพปริยัติเมธี
สมคิด พุ่มทุเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพุทธกับภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร และ 2. นำเสนอแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร ตามหลักพุทธธรรม การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนใน ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร สุ่มกลุ่มตัวอย่าง จากสูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 356 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ และค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน โดยทำการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน  ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 รูปหรือคน เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา


ผลการวิจัย พบว่า


  1. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพุทธกับภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร พบว่า ในภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (r= 0.569**) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีความสัมพันธ์เชิงลบและเชิงบวกในระดับต่ำ-สูง

  2. แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร ตามหลักพุทธธรรม ประกอบด้วย ด้านแบบมุ่งเกณฑ์ ควรมีการปฏิบัติงานโดยยึดระเบียบกฎเกณฑ์เป็นหลักในการทำงานอย่างเคร่งครัดเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย ทิศทางในการปฏิบัติงาน มีการทำงานตามขั้นตอนแบบแผนที่ได้วางไว้และปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบระมัดระวังเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ด้านแบบมุ่งงาน ควรมีการกำหนดวางแผนการปฏิบัติงานล่วงหน้า ปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้ มีการลำดับความสำคัญของงานที่ทำและมีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ ด้านแบบมุ่งสัมพันธ์ ควรมีการปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความสุภาพ เอาใจใส่ในทุกข์สุขของประชาชนโดยเท่าเทียมกัน ปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานทุกคนเหมือนญาติพี่น้อง มีลักษณะเป็นมิตรกับทุกคน มีลักษณะเป็นนักประสานงานที่ดี และ ด้านแบบมุ่งประสาน ควรสร้างความสามัคคีร่วมมือร่วมใจกันทำงาน มีการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชน มีส่วนร่วมทางความคิด ไม่มีการแบ่งแยก มีความยืดหยุ่นในการตัดสินใจ มีวิธีการสร้างขวัญกำลังใจให้กับชาวบ้าน และเป็นประชาธิปไตย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนกพร เทียมวิไล. (2557). ภาวะผู้นำเชิงพุทธสำหรับการบริหารสถานศึกษา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2543). ภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมมนุษย์ในองค์กร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมราช.

พระบุญเรือง เตธมฺโม. (2559). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาวะผู้นำในพระพุทธศาสนา: ศึกษาเฉพาะกรณีแก้ปัญหาของพระพุทธเจ้า. (วิทยานิพนธ์ศาสนาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย.

พระปรัล จนฺทโก (ปรอม). (2555). การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดภาวะผู้นำในพระพุทธศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด.

พระมหาศักดิ์ชัย อภิชาโต (ลีทหาร. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับสมรรถนะหลักของเทศบาล เมืองบางศรีเมือง ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชรพร พิพัฒน์พงศกร. (2555). ภาวะผู้นำตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุขสันต์ สุเมธี (ธรรมมา) และคณะ. (2560). ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลทางขวาง อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (ฉบับพิเศษ).