การปรับปรุงสถานที่จอดรถเพื่อความสะดวกของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลบึงคำพร้อย

Main Article Content

ปัทมพร นามพระจันทร์
ณัฐมน ยิ้มปาน
รัฐพร กำหรัด
ธมนวรรณ อัมระปาล
ปฏิภาณ ชินโชติกร
ปิยะพัฒน์ พลายแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการจอดรถของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลบึงคำพร้อย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี และ 2) นำเสนอการปรับปรุงสถานที่จอดรถเพื่อความสะดวกของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลบึงคำพร้อย โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมและความรู้ในการจอดรถของพนักงาน และการวิเคราะห์ แผนภูมิแสดงเหตุและผล ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการจอดรถของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลบึงคำพร้อย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการขับรถมีความรู้ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 50 มีทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันการจราจรติดขัดอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 62.5 จอดรถตามประเภทของรถจอดรถไม่ถูกประเภท 15 คัน ตามความถูกต้องในการจอดรถ และ 2) การปรับปรุงสถานที่จอดรถเพื่อความสะดวกของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลบึงคำพร้อย พบว่า จากปัญหาที่พบ คือ 2.1) ไม่จอดรถตามสถานที่ที่กำหนดไว้ เนื่องจากพฤติกรรมที่ขาดความรู้ในการจอดรถ 2.2) ไม่ปฏิบัติตามกฎขององค์การ เนื่องจากขาดความเป็นระเบียบวินัยพฤติกรรมในการจอดรถส่งผลให้เกิดความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่จอดรถโดยการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น และ 2.3) สถานที่จอดรถที่ไม่เพียงพอเกิดจากสถานที่ไม่เพียงพอต่อการจอดรถ หลังการปรับปรุงจัดการสถานที่จอดรถได้มีการจัดอบรมให้พนักงานที่ใช้สถานที่จอดรถมีความรู้และความสามารถเกี่ยวกับการจอดรถให้เป็นระเบียบอย่างถูกวิธีเพื่อให้พนักงานมีสถานที่จอดรถที่ดีและเป็นระเบียบเรียบร้อยอีกทั้งยังแบ่งโซนจอดรถเป็น 2 โซน คือ สถานที่จอดรถมอเตอร์ไซค์และสถานที่จอดรถยนต์เบื้องต้นการปรับปรุง 1 เดือน หลังจากการการปรับปรุงพนักงานมีความรู้ในระดับดีมากเพิ่มขึ้น 20 คน ร้อยละ 133.33 ระดับปานกลางเพิ่มขึ้น 11 คน ร้อยละ 55 และระดับต่ำลดลง 9 คน ร้อยละ 18

Article Details

How to Cite
นามพระจันทร์ ป. ., ยิ้มปาน ณ., กำหรัด ร. ., อัมระปาล ธ. ., ชินโชติกร ป. ., & พลายแก้ว ป. . (2021). การปรับปรุงสถานที่จอดรถเพื่อความสะดวกของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลบึงคำพร้อย. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 85–94. https://doi.org/10.14456/jra.2021.33
บท
บทความวิจัย

References

ธีทัต ตรีศิริโชติ. (2554). ความหมายของไคเซ็น. เข้าถึงได้จาก https://www.jobpub.com/.

บริษัท สวิฟต์เลท จำกัด สำนักงานใหญ่. (2562). PDCA คืออะไร ขั้นตอนการทำ PDCA. เข้าถึงได้จาก https://www.tereb.in.th/erp/pdca.

ยศภัทร เทศทันและคณะ. (2560). ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดระเบียบที่จอดรถบริเวณศาลากลางจังหวัดสุโขทัย. ในการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 (น. 825-837). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

วัฒนวงศ์ รัตนวราห. (2553). การจัดการความปลอดภัยบริเวณโรงเรียนพื้นที่ศึกษาในจังหวัดสิงห์บุรี. (รายงานการวิจัย). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.): มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

โศรดา เจริญศักดิ์. (2559). พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยของกลุ่ม CBR Club Chanthaburi. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัญชลี ดุสิตสุทธิรัตน์.(2559). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบางโปรง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.