การศึกษาการจัดการขยะและถังขยะแยกตามพื้นที่ กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลบึงคอไห
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขเพื่อปรับปรุงผลิตภาพขององค์การ โดยใช้แนวคิดและแผนภูมิแสดงเหตุและผลในการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาใช้วงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ในการเข้ามาปรับปรุงแก้ไขสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานองค์การส่วนตำบลบึงคอไห เข้าศึกษาและเก็บข้อมูลในสถานที่จริง สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน พร้อมทั้งสังเกตการณ์ทำงานโดยรวมขององค์การที่เกิดขึ้นจริง ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาที่พบ คือ 1) พนักงานและประชาชนทิ้งขยะไม่เป็นที่ 2) ถังขยะไม่เพียงพอและวางไม่เป็นจุด 3) ไม่มีการตรวจสอบถังขยะว่าวางเป็นจุดหรือไม่ทำให้ต้องมีการจ้างแม่บ้านชั่วคราวมาจัดการทำความสะอาดและดูแลเรื่องขยะทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างงาน สาเหตุของปัญหา คือ จุดที่ตั้งถังขยะไม่เพียงพอและพนักงานขาดความรับผิดชอบในการรักษาความสะอาด และ 2. แนวทางการแก้ไขเพื่อปรับปรุงผลิตภาพขององค์การให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการใช้เครื่องมือในการปรับปรุงผลิตภาพสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานองค์การส่วนตำบลบึงคอไหเริ่มจากการจ้างแม่บ้านชั่วคราวมาจัดการทำความสะอาดและดูแลเรื่องขยะทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างงานในระยะเวลาสัปดาห์ละ 4 ครั้ง เดือนละ 16 ครั้ง ค่าใช้จ่ายครั้งละ 350 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดในระยะเวลา 1 เดือนจำนวน 5600 บาท จากการจ้างงาน และหลังจากการปรับปรุงแล้วจากเดิมมีการจ้างแม่บ้านมาเพียงสัปดาห์ละ 4 ครั้ง มีการลดลงเหลือเพียงสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เดือนละ 12 ครั้ง ค่าใช้จ่ายครั้งละ 350 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดในระยะเวลา 1 เดือนจำนวน 4200 บาท หรือลดลงคิดเป็นอัตราร้อยละ 133.33%
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
ธงชัย ทองทวี. (2553). สภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ประภาพร แก้วสุกใส. (2549). การศึกษาเพื่อหาแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ไพบูลย์ แจ่มพงษ์และศิวพันธุ์ ชูอินทร์. (2560). การจัดการขยะมูลฝอย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรรักษ์ สวนชูผล. (2560). การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคกลาง. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษย ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(3), 11-21.
อุไรรัตน์ เพชรยัง. (2554). การจัดการของเสียอุตสาหกรรมของโรงงานผลิตยาแผนปัจจุบันกรณี ศึกษา บริษัท ไบโอแลป จำกัด. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัด การสิ่งแวดล้อม). คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.