การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ตามหลักฆราวาสธรรมในเขต ตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร

Main Article Content

พระเหมวรารักษ์ ญาณสีโล (แก้วกำพล)
สมคิด พุ่มทุเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์กับหลักฆราวาสธรรมในตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร และ 2. นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ตามหลักฆราวาสธรรมในตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีจากการวิจัยเชิงปริมาณโดยการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 289 ราย จากประชากรที่เป็นสมาชิกในกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร จำนวน 1,031 คน หาค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.891 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ใช้สถิติเชิงพรรณนาที่ และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 รูปหรือคน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา


ผลการวิจัย พบว่า


  1. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์กับหลักฆราวาสธรรมในตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร พบว่า ในภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (r= 0.468**) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำ-ปานกลาง

  2. แนวทางการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ตามหลักฆราวาสธรรมในตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ประกอบด้วย ด้านการวางแผน จะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อการทำงาน สมาชิกร่วมมือกันในการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนา วิสัยทัศน์ นโยบาย จัดตั้งวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพของสมาชิก ด้านการจัดองค์กรจะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อกัน ต่อหน้าที่ มีการตั้งกฎระเบียบร่วมกัน มีการอุทิศความรู้ความสามารถ มีความรับผิดชอบหน้าที่ ให้ความร่วมมือและทำงานตามกฎเกณฑ์โดยเคารพกฎระเบียบที่ร่วมกันว่างไว้ร่วมกัน ด้านงานบุคลากร จะต้องมีความเสียสละ การคัดเลือกผู้ที่มีความชำนาญ แต่งตั้งคณะกรรมการอย่างมีความยุติธรรม มีการพัฒนาบุคคล และมีการโยกย้ายตำแหน่งอย่างเป็นธรรม ด้านการอำนวยการ จะต้องมีความอดทนต่อหน้าที่ ประธานกลุ่มมีความสามารถชักจูงบุคลากรให้ปฏิบัติงาน ให้สวัสดิการอย่างยุติธรรมมีความอดทน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความเสียสละ กระตือรือร้น และด้านการควบคุมงาน จะต้องรู้จักข่มใจต่อหน้าที่ ติดตามทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ให้โอกาส การตรวจสอบอย่างซื่อสัตย์ เป็นธรรม มีความอดทนในการแก้ไขปัญหา ใช้คำพูดที่มีความไพเราะ ให้กู้ยืมเงินอย่างเท่าเทียมกัน และมีการประเมินผล ความโปร่งใส ยุติธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ แสนคำลือ. (2557). การให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองลำพูนอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จิตรา แสงผาบ. (2557). การให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสำนักงานที่ดินจังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ดวงนภา เพชรแท้. (2553). ศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านทับซุง ตำบลหวายเหนียวอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระจักรพันธ์ จกฺกวโร (จันทร์แรง). (2560). ประสิทธิผลการบริหารตามหลักสังคหวัตถุธรรมของเทศบาลตำบลศรีเตี้ย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพาบ ชุติมาโร (ปีสะหวาด). (2557). ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักฆราวาสธรรมโรงเรียน ประถมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 กรุงเทพ

มหานคร. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหานิพนธ์ วีรพโล (ทบแก้ว). (2560). ศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์เพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน ในจังหวัดระยอง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2).

อรทัย แสงทอง. (2558). การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ เพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดภาคใต้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 6(1).