การพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

นันน์ฐิยา จันทวงศ์
สมคิด พุ่มทุเรียน
พระราชรัตนเวที

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2. นำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีจากการวิจัยเชิงปริมาณโดยการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 346 ราย จากประชากรที่เป็นสมาชิกในวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 2,547 คน หาค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.973 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว) เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูปหรือคน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา


ผลการวิจัย พบว่า


  1. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศ ระดับการศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และรายได้ต่อปีแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ในขณะที่มีเพียงผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุแตกต่างกันที่มีความเห็นแตกต่างกันจึงยอมรับสมมติฐาน

  2.  แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ควรนำหลักพุทธธรรมในพระพุทธศาสนามาบูรณาการร่วมด้วย ดังนี้ 2.1) ควรนำหลักสัปปุริสสธรรม 7 บูรณาการร่วมกับด้านการวางแผนการผลิตเพื่อให้แผนมีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น 2.2) ควรนำหลักทุติยปาปณิกธรรมบูรณาการร่วมกับด้านการจัดโครงสร้างกลุ่มให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2.3) ควรนำหลักอิทธิบาท 4 บูรณาการร่วมกับด้านการคัดสรรสมาชิกเข้าทำงานเพื่อให้ได้สมาชิกที่มีคุณภาพดี 2.4) ควรนำหลักสังคหวัตถุ 4 บูรณาการร่วมกับด้านการอำนวยการเพื่อให้เกิดการดำเนินการที่ราบรื่น และ 2.5) ควรนำหลักพละ 5 บูรณาการร่วมกับด้านการควบคุมการเงินและบัญชีเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชมภูนุช หุ่นนาคและคณะ. (2562). แนวทางการพัฒนาระบบบัญชีของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมหาสวัสดิ์ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑลจังหวัดนครปฐม. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 9(1).

ชัชชนก เตชะวณิช. (2561). บุพปัจจัยความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย. วารสารวิชาการ การตลาดและการจัดการ, 5(1).

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และอุทิศ สังขรัตน์. (2560). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. (รายงานวิจัย). ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พระราชสิทธิเวที และคณะ. (2562). การส่งเสริมกระบวนการแห่งสัมมาชีพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพิจิตร. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(1).

รัชนี รูปหล่อและคณะ. (2562). แนวทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืนและเจริญเติบโตของวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ฉบับพิเศษ(5).

สัญญา เคณาภูมิ. (2558). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2(3).

สำนักงานส่งเสริมการเกษตรจังหวัดนครสวรรค์. (2556). รายงานข้อมูลวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ 2556. (อัดสำเนา)

อังกาบ บุญสูง. (2559). การศึกษาแนวทางการสร้างเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอพื้นเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2(1).