การศึกษาการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของคลังสินค้า และการจัดเก็บสินค้า กรณีศึกษาบริษัท เอ็กซ์เดฟ จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดการสินค้าคงคลังขาดประสิทธิภาพ และนำเสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังโดยการศึกษาข้อมูลจากสภาพแวดล้อมจริง จัดเก็บข้อมูลสินค้าคงคลัง การสัมภาษณ์พนักงานผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสินค้าคงคลัง จากนั้นทำการวิเคราะห์หาปัญหา นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ให้เข้าใจถึงความหมาย และนำสิ่งที่ผิดพลาดมาแก้ไขให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผลการวิจัย พบว่า 1. สาเหตุของปัญหาจากการวิเคราะห์กระบวนการทำงาน คือ ไม่มีระบบการจัดการสินค้าคงคลังที่เป็นมาตรฐานเหมาะสมในการจัดเก็บ กระบวนการดูแลระบบการจัดการคลังสินค้ายังไม่เป็นระเบียบ เกิดความผิดพลาดในด้านจำนวนสิ้นค้าที่จัดเก็บ การเบิกจ่ายหรือการเตรียมของส่งลูกค้าเกิดความผิดพลาด เกิดการสูญเสียในเรื่องการส่งมอบชิ้นงานล่าช้าไม่ทันตามกำหนดเวลา เกิดปัญหาการดำเนินงานผลิตขาดช่วงไปในบางผลิตภัณฑ์ทำให้เกิดปัญหาความล่าช้าในการจัดเตรียมผลิตภัณฑ์ส่งลูกค้า และ 2. แนวทางการแก้ไขเพื่อการลดความสูญเปล่าด้วยหลัก ECRS พบว่า E=การกำจัด (Eliminate) ในส่วนการผลิตที่มากเกินความจำเป็น ลดการเคลื่อนย้ายที่ไม่จำเป็น C=การรวมกัน (Combine) สามารถลดการทำงานที่ไม่จำเป็นโดยการรวมขั้นตอนเข้าด้วยกัน R=การจัดใหม่ (Rearrange) การจัดหาขั้นตอนใหม่เพื่อลดกระบวนการบางอย่างที่ไม่จำเป็น S=การทำให้งาน (Simplify) การปรับปรุงการทำงานให้ง่ายและสะดวกขึ้นเช่นการออกแบบส่งอำนวยการผลิตที่จะส่งผลในการผลิตให้ง่ายขึ้นได้ จากการแบ่งกลุ่มสินค้าคงคลังตามลำดับ ประเภท ขนาด วัสดุและความสำคัญ การกำหนดความถี่ในการตรวจนับสินค้าคงคลังทำให้ข้อมูลสินค้าคงคลังมีความแม่นยำจากเดิม 55% เป็น 95% เพิ่มขึ้น 40% ปัญหาการดำเนินงานผลิตขาดช่วงลดลงเดิม 50% เหลือ 20% รวมถึงประสิทธิภาพในการส่งมอบลูกค้าจากเดิม 80% เป็น 100% สามารถช่วยให้คลังสินค้าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าและเพิ่มความพึ่งพอใจของลูกค้า
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2553). คลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้า. กรุงเทพฯ: บริษัท โฟกัสมีเดีย แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด
คุลยา ศรีโยม. (2560). การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตดอกไม้จันทน์ กรณีศึกษา กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านแหลมเคียน. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 (น.1387-1395). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ประยูร สุรินทร์และคณะ. (2551). การเพิ่มผลผลิตโดยการปรับปรุงวิธีการทำงาน กรณีศึกษา: บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ จำกัด. ในการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ (น. 133). สงขลา: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ลัดดาวัลย์ นันทจินดา. (2559). การประยุกต์ ECRS กับบริษัท ขนส่งระบบ Milk run กรณีศึกษาบริษัท ABC Transport จำกัด. (ภาคนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน). คณะโลจิสติกส์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุภาภรณ์ ดาวสุก, (2558). การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนเพื่อเพิ่มผลิตภาพ. เข้าถึงได้จาก http:// www.vu.ac.th/apheitvu/journal/v4n2/.pdf