การปรับปรุงกระบวนการทำงานและพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัยของ พนักงานเก็บขนมูลฝอย กรณีศึกษา: เทศบาลเมืองลาดสวาย

Main Article Content

ระพีพัฒน์ ขวัญเจริญ
ชาลินี ชีวะกุล
บุณยวรีย์ แทนเดช
สุพนิดา นุ่มหมอก
เปรมยุดา จินาทิตย์
สิริญากร ฟังแฟง
กานต์ชนิต ลาขุณี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและนำเสนอแนวทางป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมการทำงานเพื่อประสิทธิการทำงานให้มีความปลอดภัยของพนักงานขนมูลฝอย ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้วงจรการบริหารงานคุณภาพ และการใช้โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล โดยได้ทำแบบสอบถามพฤติกรรมและความรู้ความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานขนมูลฝอย จำนวน 45 คน การใช้โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และการวิเคราะห์แผนภูมิแสดงเหตุและผล ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาที่พบ คือ พฤติกรรมที่ขาดความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการขนมูลฝอย มีพฤติกรรมขาดความระมัดระวังและขาดการตรวจสอบถึงพฤติกรรมในการทำงาน โดยการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ได้ทำการจัดทำการใช้โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ผลการปรับปรุงพบว่าจากการปรับปรุงความรู้ด้วยการใช้โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามโปรแกรม ก่อนปรับปรุงเทศบาลประสบปัญหาพนักงานมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุใน ระดับดีมาก 15 คน หลังจากการใช้โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเข้ามาช่วยในการพัฒนาและส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการป้องกันให้กับพนักงาน ส่งผลให้พนักงานมีความรู้ในระดับดีมากเพิ่มขึ้น 8 คน ร้อยละ 53.33

Article Details

How to Cite
ขวัญเจริญ ร. ., ชีวะกุล ช. ., แทนเดช บ. ., นุ่มหมอก ส. ., จินาทิตย์ เ. ., ฟังแฟง ส. ., & ลาขุณี ก. . (2020). การปรับปรุงกระบวนการทำงานและพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัยของ พนักงานเก็บขนมูลฝอย กรณีศึกษา: เทศบาลเมืองลาดสวาย. วารสารวิจยวิชาการ, 4(1), 121–130. https://doi.org/10.14456/jra.2021.12
บท
บทความวิจัย

References

นพรัตน์ เที่ยงคำดี. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. เข้าถึงได้จาก http://www.google. co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&cad=rja&uact=8&ved=2ahUKEwi3z6Xv

ลลัลดา ชมโฉม. (2559). ศึกษาปัญหาและวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านเอกสารประกอบการเดินพิธีการ กรมศุลกากร. เข้าถึงได้จาก http://digital_ collect .lib.buu.ac.th/dcms/files/56920268.pdf

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2553). สุขภาพคนไทย 2553: วิกฤตทุนนิยมสังคมมีโอกาส. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. เข้าถึงได้จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/054/29.PDF

สุปรีดิ์ เดชา และสมคิด ปราบภัย. (2561). ประสิทธิผลโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย เทศบาลตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารควบคุมโรค, 44(1).

Becker, M.H., Drachman, R.H. and Kirscht, J.P.A New Approach to Explaining sick role Behavior in Low-income Populations. American journal of Public Health, 64(3).

Nancy, E.Adams. MLIS. Bloom’s taxonomy of cognitive learning objectives. J Med Lib Assoc, 103(3).