การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพิจิตรตามแนวพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระครูวิโชติสิกขกิจ
ศราวุธ ปลอดภัย
ปริญญา นิกรกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการบริหาร การบูรณาการหลักพุทธธรรมและนำเสนอแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 21 คน และการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญที่เลือกแบบเจาะจง จำนวน 11 คน การตรวจแบบข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และอธิบายข้อมูลแบบพรรณนาโดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนาผลการวิจัย พบว่า 1) มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยมีโครงสร้างการบริหารที่ชัดเจน มีเครือข่าย สมาชิก กฎ ระเบียบ การศึกษาดูงานและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่เสมอและการแบ่งปันกำไรในรูปแบบของหุ้นพร้อมทั้งมีการถ่ายทอดระหว่างสมาชิกในกลุ่ม 2) การบูรณาการหลักธรรมประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา แม้มีโครงสร้างการบริหารแต่ทุกคนเท่าเทียมกันเพราะมีการเคารพกฎ กติกา บิดา มารดา ครูอาจารย์ มิตรสหาย มีเมตตาปลูกจิตสำนึกในหน้าที่ให้ซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค และ 3) การพัฒนาตัวเองของสมาชิกในกลุ่มที่เกิดจากการศึกษาดูงานการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น การสร้างแรงจูงใจในการเข้าร่วมกลุ่มว่าสามารถแก้ปัญหาหนี้สินในครัวเรือนของสมาชิกในกลุ่มได้ การให้เกียรติซึ่งกันและกันโดยไม่มองว่าใครต่ำกว่าสูงกว่ากันก็ทำให้การรวมกลุ่มของสมาชิกยั่งยืนได้และสามารถสร้างเครือข่าย “บวร” ที่เกิดจากการรวมกลุ่มเพื่อซื้อขายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มและชุมชนภายนอกได้ โดยผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ต้องมีมาตรฐานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนั้น ๆ รับรองเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค

Article Details

How to Cite
พระครูวิโชติสิกขกิจ, ปลอดภัย ศ., & นิกรกุล ป. (2020). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพิจิตรตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารวิจยวิชาการ, 4(1), 1–12. https://doi.org/10.14456/jra.2021.1
บท
บทความวิจัย

References

กรกฎ สระคูพันธ์ และศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2562). การศึกษาการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปแป้งจากข้าวหอมมะลิ: กรณีศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 16(74), 76-82.

กรมสรรพากร. (2560). คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน. เข้าถึงได้จาก http://www.rd.go.th /publish/47243.0.html

คติยา อายุยืน. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาองค์การที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 16(2), 149-162.

ชวลิต ศุภศักดิ์ธำรง. (2561). บทบาทของฝ่ายการจัดการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 1702-1713.

ชุติมันต์ สะสอง และ บุญฑวรรณ วิงวอน. (2559) ความร่วมมือของผู้มีส่วนได้เสียและแผนธุรกิจที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนกลุ่มวิสาหกิจหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ให้มีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(1), 124-133.

พระณัฐวุฒิ วุฑฺฒิโก (สัพโส) และคณะ. (2558). การพัฒนามนุษย์ตามหลักพระพุทธศาสนา: การนำเสนอแนวคิดจากพระสุตตันตปิฎก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(3), 60-70.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (อัดสำเนา).

เสกสรร สนวา.(2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใน 5 มิติ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(3), 503-513.

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2560). “วิสาหกิจชุมชน” ปฏิทรรศน์ในการแข่งขันทางธุรกิจ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 37(2), 131-150.

เอกสิทธิ์ สนามทอง กล้าหาญ ณ น่าน. (2561). บริบทที่มีอิทธิพลต่อการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 15(1), 1-20.