ฮาบิทัสกับการศึกษาการจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด และภูมิหลังของครูที่จัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม 2) ศึกษาการตีความและให้ความหมายประสบการณ์ในการจัดการเรียนการรู้ด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวความคิดฮาบิทัสของครู เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้แนวทางการวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา อาศัยแนวความคิดฮาบิทัสของปิแอร์ บูร์ดิเยอ มุ่งการตีความหมายประสบการณ์เป็นหลัก โดยเลือกกลุ่มเป้าหมาย74 คน ผ่านวิธีการคัดเลือกอาสาสมัครแบบเจาะจง เก็บข้อมูลจากการใช้แบบสอบถาม แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมได้รับการกำหนดแนวทางมาจากมาตรฐาน ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้เป็นหลัก ที่มีจุดหมายเดียวกันเหมือนกันที่จะสร้างผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ความสามารถ คุณลักษณะในทิศทางเดียวกันและลักษณะการจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นอยู่กับฮาบิทัสระดับปัจเจก ระดับกลุ่ม ฮาบิทัสทางสังคม ซึ่งจะหล่อหลอมเข้าสู่ตัวตนแล้วสะท้อนภูมิหลัง ประสบการณ์ ให้ผู้สอนมีแนวความเชื่อ ความคิด ความรู้สึก พฤติกรรม และลักษณะการจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความแตกต่างหรือคล้ายกันแต่ละคนออกไป ส่งผลต่อการเรียนรู้ด้านความรู้ ความสามารถ ความรู้สึก พฤติกรรรม แนวคิด การปฏิบัติของผู้เรียน และ 2) การตีความประสบการณ์ของครูพบว่าการที่ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่หลากหลายหรือใช้วิธีการเดียวกัน เนื่องจากฮาบิทัสระดับปัจเจก ระดับกลุ่ม และฮาบิทัสทางสังคมที่หล่อหลอมด้วยกฎเกณฑ์หรือความไม่แปลกแยกจนเกิดเป็นรสนิยมที่ผลิตซ้ำ ฉะนั้นการกำหนดเกณฑ์หรือการกำหนดระบบโครงสร้างบางอย่างอาจส่งผลต่อการสร้างสรรค์ของครูในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งต่อผู้เรียน
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2564. เข้าถึงได้จาก http://www.onep.go.th
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชลาลัย บุญสุวรรณ. (2560). การวิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรคในการปรับตัวของลิเกในสังคมไทย. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2560 (น.849-860). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
นิลาวัลย์ สว่างรัตน์. (2561). การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรม การบินและโลจิสติกส์ในประเทศไทย เพื่อมุ่งสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สมดุลและยั่งยืน. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 2136-2152.
รุ่งทิวา กองสอน. (2562). การสร้างความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับนิสิตวิชาชีพครู ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(1), 25-36.
สุนีย์ ประสงค์บัณฑิต. (2553). แนวความคิดฮาบิทัสของปิแอร์ บูร์ดิเยอกับทฤษฎีทางมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
อมรรักษ์ สวนชูผล. (2560). หลักการ การจัดการเรียนการสอน และประเด็นที่ควรสอดแทรกในการจัดการเรียนการสอนทางสิ่งแวดล้อมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 5(2), 172-180.
Rojas-Rivas, E. et al. (2019). Understanding consumers' perception and consumption motives towards amaranth in Mexico using the Pierre Bourdieu's theoretical concept of Habitus. Appetite, 139(August), 180-188.
Joseph, J. E. (2020). The agency of habitus: Bourdieu and language at the conjunction of Marxism, phenomenology and structuralism. Language & Communication, 71(March), 108-122.