ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง 2) ศึกษาการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ และ 3) วิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ที่มีความสัมพันธ์กับสื่อสร้างสรรค์ ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสานวิธี ใช้การวิจัยเชิงสำรวจกับนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ 5 โรงเรียน จำนวนประชากรทั้งหมด 3,167 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 355 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการเรียนรู้ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน ผ่านการบันทึกข้อมูลภาคสนาม ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การพัฒนา ประกอบด้วย 1) ด้านบริบทโครงสร้างประกอบด้วย การปรับโครงสร้างหลักสูตร การบริหารจัดการเวลาเรียน การสร้างความเข้าใจกับครูในการปฏิบัติงาน การจัดทำโครงสร้างเวลาเรียน การประสานงานร่วมกับชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ จัดแสดงผลงานของนักเรียน โดยมีการนิเทศ กำกับและติดตามผลของการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” 2) การพัฒนาด้านกระบวนการเรียนรู้ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ได้พัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ ด้านปัญญา (พุทธพิสัย) พฤติกรรมการเรียนรู้ ด้านจิตใจ (จิตพิสัย) และพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านทักษะปฏิบัติ (ทักษะพิสัย) 3) การพัฒนากิจกรรมที่มีความสัมพันธ์กับสื่อสร้างสรรค์ คือ ตัวบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ ในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ และ 3. กระบวนการเรียนรู้ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ที่มีความสัมพันธ์กับสื่อสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่เสริมทักษะกระบวนการคิดทางด้านปัญญา (พุทธพิสัย) ทักษะกระบวนการพัฒนาจิตใจคุณธรรมจริยธรรม (จิตพิสัย) ทักษะการปฏิบัติในการทำงาน (ทักษะพิสัย) ในทุกกิจกรรม
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
นรีรัตน์ ตลับเพ็ชร. (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการตามนโยบาย“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของโรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม จังหวัดชลบุรี. (รายงานการวิจัย). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วลัยนุช สกุลน้อย. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สื่อการสอนตามความคิดเห็นของครูศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนนทบุรี. (รายการวิจัย). คณะการจัดการ: วิทยาลัยราชพฤกษ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). บทวิเคราะห์การศึกษาไทยในโลกศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2553). การเปลี่ยนแปลงโลกของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาสู่ “ครูมืออาชีพ”. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ.
Benjamin, B. S. et al. (1956). Taxonomy of Educational Objectives. New York: David Mckay Company.