รูปแบบการบริหารโรงเรียนประชารัฐในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ทิพวรรณ โพธิ์ขำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนประชารัฐในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนประชารัฐในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนประชารัฐในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีขั้นตอนการวิจัยดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์องค์ประกอบฯ โดยศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 684 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่มีความเที่ยง 0.98 สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนประชารัฐในยุคดิจิทัล โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้คือ ร่างรูปแบบการบริหารโรงเรียนประชารัฐในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเอกสารประกอบการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้คือ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่และค่าร้อยละ ขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนประชารัฐในยุคดิจิทัล โดยการเก็บข้อมูลจากผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนประชารัฐในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร การบริหารจัดการ การใช้หลักธรรมาภิบาล การมีส่วนร่วม การมีภาวะผู้นำ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) รูปแบบการบริหารโรงเรียนประชารัฐในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา และส่วนการนำไปใช้ และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนประชารัฐในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
โพธิ์ขำ ท. (2020). รูปแบบการบริหารโรงเรียนประชารัฐในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน . วารสารวิจยวิชาการ, 4(1), 177–188. https://doi.org/10.14456/jra.2021.18
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). โรงเรียนประชารัฐ. เข้าถึงได้จาก http://www.moe.go.th/moe /th/news /detail.php?NewsID=44709&Key=news_act.

ธีระพร อายุวัฒน์. (2552). แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นพปฎล บุญพงษ์. (2560). การนำเสนอรูปแบบการบริหารเครือข่ายสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 19(1), 14-20.

นิภาพร ดีมาก. (2559). รูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

มัลลวีร์ รอชโฟล. (2554). การพัฒนาโรงเรียนดีประจำตำบลผ่านกระบวนการภาคีเครือข่ายในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิภา ทองหงำ. (2554). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2561). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. เข้าถึงได้จาก http://www.trueploo kpanya.com/knowledge/content/52232-edu-teaartedu-teaart-teaartdir

อัมพร พงษ์กังสนานันท์. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อร่าม วัฒนะ. (2561). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Towner, Brooke C. (2018). Examining the Process of Shared Use through Community-School Partnerships. (Doctorate of Philosophy). College of Physical Activity and Sport Sciences: University of West Virginia.

Du, Evelina. (2014). Public Private Partnerships in Early Childhood Education. (Doctoral dissertation). Oakland, CA: Mills College.

Stamper, J. (2015). District Run Online High Schools: Best Practices and Challenges. (Doctoral dissertation). USA: University of West Georgia.

Verdin G. Turnbull. (2015). The Profitability for Businesses in School Business Partnerships. (Doctoral dissertation). USA: University of Texas Southern.