ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา Soft skills ของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

บุษกร วัฒนบุตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับ Soft Skills ของเยาวชนไทย 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา Soft Skills ของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 และ 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนา Soft Skills ของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสำรวจจากแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาในจังหวัดปทุมธานีจำนวน 358 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเพื่อการวิจัยผ่านการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน เพื่อสำหรับการหาลักษณะร่วม และข้อสรุปร่วม  ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับ Soft Skills ของเยาวชนไทย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นเพศชาย จำนวน 219 คน คิดเป็นร้อยละ 61.2 และเพศหญิง จำนวน 139 คน คิดเป็นร้อยละ 38.8 ระดับการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถามนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 1 จำนวน 241 คน คิดเป็นร้อยละ 67.3 นักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 2 จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 21.5 นักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 3 จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 11.2 โดยที่ระดับ Soft Skills ของเยาวชนไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา Soft Skills ของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 มีลักษณะที่เป็นปัจจัยที่ในการพัฒนาทั้งทางด้านกาย ด้านอารมณ์ ด้านปัญญาและด้านการบริหารจิต ให้รู้และเข้าใจตามความเป็นจริง เพื่อสร้างทักษะที่ติดตัวไปแม้จะเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่จะอยู่ในตัว เพื่อที่จะมั่นใจว่าสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีในสังคม และ 3) ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนา Soft Skills ของเยาวชนไทยในศตวรรษที่จะเกิดจากการถ่ายทอดและพัฒนาของคณาอาจารย์ เยาวชนที่จะเข้ารับการพัฒนา Soft Skills ไม่ตระหนักสนใจ การสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน

Article Details

How to Cite
วัฒนบุตร บ. (2020). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา Soft skills ของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจยวิชาการ, 4(1), 87–94. https://doi.org/10.14456/jra.2021.8
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ อุ่นทะโคตร. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและสุนทรียทักษะผู้นำต่อการประเมินโครงการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(2), 7-18.

ชโลทร โชติกีรติเวช. (2560). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะ Soft Skills เพื่อการจัดการเรียนรู้ของครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 44-52.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปปอเรชั่น.

ปรัชญาพร ทองประสิทธิ์ และคณะ. (2563). รูปแบบการพัฒนาทักษะด้านอารมณ์โดยวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับผู้ปฏิบัติงานส่วนหน้าในธุรกิจบริการ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 14(2), 97-108.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2553). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัท จี. พี. ไซเบอร์พรินท์ จำกัด.