ประเด็นความท้าทายที่มีต่อบทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต

Main Article Content

พลวศิษฐ หล้ากาศ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเด็นความท้าทายที่มีต่อบทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต พบว่า ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมทางธุรกิจได้เผชิญเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในยุคที่มีพลวัตรเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการดำเนินงานขององค์การ วิถีชีวิต ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น องค์การจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรับตัวต่อการทำงาน ซึ่งผลกระทบต่อกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นนักทรัพยากรมนุษย์ จำเป็นต้องพบเจอกับความท้าทายทั้งที่มีความเข้มข้นที่มากขึ้น ซึ่งในบทความนี้ได้วิเคราะห์มาดังนี้ รูปแบบการแข่งขันของโลกในยุคดิจิทัล รูปแบบการทำงานในยุคดิจิทัล โลกที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การสร้างความผูกพันให้กับองค์การอย่างยั่งยืน และได้นำเสนอประเด็นความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการรับมือกับความท้าทายในการทำงานในอนาคต ผ่านกระบวนการ การสร้างความเข้าใจในบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลง การสื่อสาร การสร้างระบบความน่าเชื่อถือ การใช้ความคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกัน เพื่อให้องค์การสามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในอนาคตอย่างเต็มศักยภาพและยั่งยืน

Article Details

How to Cite
หล้ากาศ พ. (2021). ประเด็นความท้าทายที่มีต่อบทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 251–260. https://doi.org/10.14456/jra.2021.47
บท
บทความวิชาการ

References

จิรประภา อัครบวร, อนุชาติ เจริญวงศ์มิตร และจารุวรรณ ยอดระฆัง. (2552). การบริหารการเปลี่ยนแปลง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

พัชนี นนทศักดิ์, ปิยะพันธ์ ปิงเมือง และสมศรี ศิริไหวประพันธ์. (2553). Modern Management. กรุงเทพฯ: บริษัท เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด.

วนิดา พรพิรุฬห์. (2547). การเปรียบเทียบความแตกต่างด้านวัฒนธรรมองค์กรระหว่างบริษัท ญี่ปุ่นกับบริษัทอเมริกาในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์. (2560). In Focus: มองเศรษฐกิจไทยในยุค Trump นำโลก. Outlook, ไตรมาส 1/2017.

Certo, S.C. (2000). Modern Management: Diversity, quality ethics, and the global environment. Upper Saddle River, N.J.: Prentice Hall.

Chen, L. and Naughton, B. (2011). The Emergence of Chinese Techno-Industrial Policy. Megaprojects to Strategic Emerging Industries, 2003-2011, 1-27.

Ferry, K. (2018), Global Survey: Artificial IntelliGenerationce (AI) Reshaping the Role of the Recruiter. Retrieved from http://ir.kornferry.com/putting-ai-its-place-artificial-intelliGenerationce-should-be-part

Goparaju, S. (2014). Impact of Advanced Technologies on HR 2014. Business Manager, 17(1), 5-7.

Guest, D. E. (2011). Human Resource Management and Performance: Still searching for some answers. Human Resource Management Journal, 21(1), 3-13.

Harvard Business Essentials Series. (2003). Managing change and transition. Boston MA: Harvard Business School Press.

McKenna, E. F., & Beech, N. (2014). Human Resource Management-A concise analysis. (3rd ed.). New York: Pearso.