การพัฒนาแนวทางในการป้องกันตนเองจากปัญหายาเสพติดของนักเรียนนายสิบตำรวจ

Main Article Content

จินุกูล หลวงอภัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางในการป้องกันตนเองจากปัญหายาเสพติดของนักเรียนนายสิบตำรวจ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการป้องกันตนเองจากปัญหายาเสพติดของนักเรียนนายสิบตำรวจ ประกอบด้วย 1) การฝึกอบรม การรับรู้ การเรียนรู้ และการฝึกฝน ซึ่งเป็นการให้ความรู้เรื่องยาเสพติด แนวคิดในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยใช้สถานการณ์จำลองและแสดงบทบาทสมมติให้แก่นักเรียนนายสิบตำรวจ ได้ฝึกปฏิบัติค้นหาวิธีแก้ปัญหาร่วมกันกับเพื่อนและตัดสินใจเลือกทำอย่างมีความรับผิดชอบในการตัดสินใจนั้น ๆ เพื่อให้นักเรียนนายสิบตำรวจได้เรียนรู้ถึงพิษภัยของยาเสพติดและรู้เท่าทัน การฝึกฝนด้วยการทำกิจกรรมที่เรียนรู้มาแล้วเพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญในการทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งได้ทั้งในเวลาที่มีการกดดันคับขัน นักเรียนนายสิบตำรวจจะเกิดทักษะในการป้องกันตนเอง รู้ถึงพฤติกรรมและทัศนคติของตนเองในการป้องกันยาเสพติด โดยไม่หลงคำชักชวน หลอกลวงหรือชักจูงของเพื่อนหรือญาติ ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดกับตนเอง ไม่เลียนแบบเพื่อนในทางที่ไม่ถูกต้อง และปัจจัยแห่งความสำเร็จการป้องกันตนเองจากปัญหายาเสพติดของนักเรียนนายสิบตำรวจ 2) การกำกับ ดูแล ควบคุมของผู้บังคับบัญชาซึ่งนักเรียนนายสิบตำรวจ ต้องประพฤติและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของสถานฝึกอบรมและรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติโดยเคร่งครัด 

Article Details

How to Cite
หลวงอภัย จ. (2020). การพัฒนาแนวทางในการป้องกันตนเองจากปัญหายาเสพติดของนักเรียนนายสิบตำรวจ. วารสารวิจยวิชาการ, 4(1), 169–176. https://doi.org/10.14456/jra.2021.17
บท
บทความวิจัย

References

เจริญ แฉกพิมายและปนัดดา ศรีธนสาร. (2555). ยาเสพติดและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (รายงานวิจัย). กองกิจการนักศึกษา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ณิชธร ปูรณะปัญญา. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในจังหวัดบุรีรัมย์. (การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ธีรศักดิ์ ชมพูบุตร. (2540). ยาบ้า (Amphetamin). วารสารความรู้คือประทีป, 5(22), 12-16.

พรภัค พานพิศ. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันปัญหายาเสพติดของนักศึกษานอกระบบของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตรฺ์เพื่อการพัฒนา). บัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พุทธศักราช 2547 มาตรา 6. (2547, 14 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 121 ตอนที่ 18 ก, หน้า 3.

สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม. (2560). แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2560. (อัดสำเนา).