ปัญหาการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีในการกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติด กรณีศึกษาเฉพาะในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

จุฑามาศ เพชรเปล่งสี
อาจารี มีอินทร์ เกิดมีสิทธิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาเด็กและเยาวชนการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเด็กและเยาวชน 2) ศึกษาบทบัญญัติหลักเกณฑ์เงื่อนไขทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาเด็กและเยาวชนทั้งในส่วนของประเทศไทยและต่างประเทศ และ 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากประมวลกฎหมาย หนังสือกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกา บทความ วารสาร เอกสารข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งกฎหมายของประเทศไทยและกฎหมายของต่างประเทศ โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบเพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายผลการวิจัย พบว่า ปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยเฉพาะคดียาเสพติดที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำความผิดมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยพื้นที่จังหวัดปทุมธานีซึ่งมีข้อมูลว่าเป็นแหล่งจำหน่ายแพร่กระจายและเป็นทางผ่านของยาเสพติด การศึกษาวิจัยผ่านการดำเนินคดีกับเด็กและเยาวชนในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดปทุมธานีที่สามารถสะท้อนปัญหาของการนำมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2553 มุ่งแก้ไขบำบัดฟื้นฟูมากกว่าการลงโทษเด็กและเยาวชนจากการศึกษาพบว่าการให้ความยินยอมของผู้เสียหายที่เป็นรัฐไม่อาจใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา (มาตรา 90) ได้และการสำนึกผิดของเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดในคดียาเสพติดเป็นเรื่องที่ยากจะพิสูจน์ได้ว่าสำนึกผิดอย่างแท้จริงเพียงใด (มาตรา 86) ประกอบข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไขในการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูหลังฟ้องคดี พ.ศ. 2556 จึงควรนำมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญามาใช้กับการกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดเพื่อเสนอเป็นแนวในการแก้ไขกฎหมายและข้อบังคับต่อไป

Article Details

How to Cite
เพชรเปล่งสี จ., & มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์ อ. . (2021). ปัญหาการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีในการกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติด กรณีศึกษาเฉพาะในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 75–90. https://doi.org/10.14456/jra.2021.69
บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. (2545). ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: หลักการและแนวคิดในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: ทางเลือกใหม่สำหรับกระบวนการยุติธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

จำรัส รุ่งเรือง. (2547). การนำเอากระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) มาใช้ในกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็ก (Juvenile Justice) : ศึกษากรณีการประชุมกลุ่มครอบครัว (Family Group Conferencing). (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). คณะนิติศาสตร์ ปรีดีพนมยงค์: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2548). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: การคืนอำนาจแก่เหยื่ออาชญากรรมและชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

นิศรา รัตนเกียรติกานต์. (2558). มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา: ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้แทนชุมชนในการจัดทำแผนแก้ไขฟื้นฟูในชั้นก่อนฟ้อง. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). คณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บุญเพราะ แสงเทียน. (2540). คำบรรยายเกี่ยวกับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เบญจพร ปัญญายง. (2555). กระบวนการนิติจิตเวชสำหรับเด็กและเยาวชน. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

ปุณยวัจน์ ไตรจุฑากาญจน์. (2560). มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญากับการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 45(2), 52-79.

พรหมพิริยะ เกิดสันเทียะ. (2563). “คลินิกจิตสังคม” ศาลอาญาธนบุรี: ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว. ดุลพาห, 2(67), 29-66.

พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553. (2553, 22 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 72 ก, หน้า 12.

ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดปทุมธานี. (2562). สรุปรายงานผลการปฏิบัติราชการของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดปทุมธานีประจำปี พ.ศ. 2558-2562. (อัดสำเนา).