แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอบ้านไร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2

Main Article Content

จรรยา ทีปาลา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและหาแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู จำนวน 51 โรงเรียน ซึ่งแบ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 47 คน ครูและบุคลากร จำนวน 590 คน รวมทั้งสิ้น 637 คน และกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 47 คน ครูและบุคลากร จำนวน 196 คน รวมทั้งสิ้น 243 คน ได้มาโดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน และทำการสุ่มเปรียบเทียบสัดส่วนอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คุณภาพของเครื่องมือมีความเที่ยงเท่ากับ 0.99 เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ดังนี้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีการเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยการประชุมสนทนากลุ่มใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีปัญหาสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และสุดท้ายด้านการพัฒนาบุคลากร ตามลำดับ และ 2) แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้ 2.1) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ควรจัดการประชุมวางแผนในแผนปฏิบัติงานประจำปีและนำนโยบายสู่การปฏิบัติ 2.2) ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรมีการสร้างเครือข่ายร่วมกัน เพื่อเผยแพร่ สื่อการเรียนรู้ หรือกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการ ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย 2.3) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ควรมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และปรับปรุงผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และ 2.4) ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ควรมีการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยน ส่งเสริมให้เป็นวิทยากร และเผยแพร่ผลงานของตนเอง

Article Details

How to Cite
ทีปาลา จ. (2021). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอบ้านไร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 . วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 45–60. https://doi.org/10.14456/jra.2021.67
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษธิการ

จุฑามาส พัฒนศิริ. (2560). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ธิปกรณ์ บุญทัน. (2562). การพัฒนาแนวทางการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น) สำหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลกลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 12. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พิสณุ ฟองศรี. (2549). การประเมินทางการศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เทียมฝ่าการพิมพ์.

มานิตย์ พานแสวง. (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ราษฎร์ธานี กิมเสาร์. (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ศรีชล ร้ายไพรี. (2558). ประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2. (2562). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เข้าถึงได้จาก http://101.109.41.154/prutt2/aspboard_Question. asp?GID=856

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ 21 เซ็นจูรี่.

สำนักส่งเสริมกิจการการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง. เข้าถึงได้จาก www.moe.go.th

สุดารัตน์ กุมขุนทด. (2559). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุนทร จงเพียร. (2556). การบริหารสถานศึกษาพอเพียงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อรวรรณ แสงดาว. (2562). การศึกษาบทบาทของผู้บริหารในการบูรณาการศาสตร์พระราชาด้านหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพะเยา.

Lamberton, G. (2005). Sustainable sufficiency : An internally consistent version of sustainability. Sustainable Development, 13(1), 53-68.