ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 จังหวัดตาก

Main Article Content

สมชาย ยอดปรางค์
พระเทพปริยัติเมธี
สยาม ดำปรีดา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับทฤษฎีพื้นฐานสองปัจจัย ที่ส่งผลต่อระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน และ 3) นำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมกับทฤษฎีพื้นฐานสองปัจจัย ในการเสริมสร้างระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 จังหวัดตาก เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้การแจกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .973 เก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 260 คน จากข้าราชการตำรวจชั้นประทวน จำนวน 738 คน สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 จังหวัดตาก ตามหลักสังคหวัตถุธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเลขคณิต = 3.94 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.614 ตามหลักทฤษฎีพื้นฐานสองปัจจัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเลขคณิต = 3.91 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.668 2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับทฤษฎีพื้นฐานสองปัจจัย ที่ส่งผลต่อ ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยรวมเท่ากับ 0.885 มีความสัมพันธ์เชิงบวกสูงมาก และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) แนวทางการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรม กับทฤษฎีพื้นฐานสองปัจจัย ในการเสริมสร้างระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยนำหลักสังคหวัตถุธรรม มาปรับใช้เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้

Article Details

How to Cite
ยอดปรางค์ ส. ., พระเทพปริยัติเมธี, & ดำปรีดา ส. . (2021). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 จังหวัดตาก. วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 171–182. https://doi.org/10.14456/jra.2021.77
บท
บทความวิจัย

References

งานธุรการกำลังพล กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน 34. (2562). สถานภาพกำลังพล ข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34. เข้าถึงได้จาก http://www.bpp.34.bpp. police.go.th

ดาริน ปฏิเมธีภีณ์. (2556). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน บริษัท ขนส่งทางอากาศเอกชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระครูปลัดสิทธิศักดิ์ ฐิตสกฺโข. (2562). กระบวนการประยุกต์ใช้หลักพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(7), 3587-3598.

พระสุนทร ธมฺมธโร. (2560). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในชุมชนวัดหนองสนม จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชรี คงดี. (2556). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รนายุทธ ชาสุรีย์. (2550). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ลิขิตา เฉลิมพลโยธินและคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในโรงแรม เขตอำเภอหัวหิน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28), 212-222.

สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างบูรณาการ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.