ปัจจัยที่ส่งผลต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพและ 2) หาสมการที่สามารถพยากรณ์ความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 265 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์สถิติการถดถอยพหุคูณ แบบ Stepwise ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในของตัวแปรที่นำมาศึกษาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าอยู่ระหว่าง .172 ถึง .670 โดยด้านคุณภาพการสอนของอาจารย์ ด้านสภาพแวดล้อมในครอบครัว ด้านเจตดติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ด้านพฤติกรรมในการเรียน และด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนวิชาคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านสภาพแวดล้อมในการเรียนไม่มีความสัมพันธ์ และ 2) ค่าสถิติของตัวแปรในสมการพยากรณ์ ที่ใช้การคัดเลือกตัวแปรด้วยวิธี Stepwise ผลการวิเคราะห์พบว่าตัวแปรอิสระ 3 ตัว ที่ร่วมกันทำนายตัวแปรตาม (ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน) สามารถอธิบายตัวแปรตามได้สูงมาก (R2= .680) เมื่อพิจารณาเฉพาะตัวแปร พบว่าตัวแปรอิสระที่สามารถ อธิบายตัวแปรตามได้ดีที่สุดและมีนัยสำคัญ คือ ด้านคุณภาพการสอนของอาจารย์ ด้านเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ด้านพฤติกรรมในการเรียนและด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน ซึ่งจากตารางข้อมูล สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรูปคะแนนดิบและรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y=.648+.339x2+.208x4+.156x5+.142x6
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ZY=.353x2+.228x4+.178x5+.150x6
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
กฤศวรรณ ประเสริฐสิทธิ์ .(2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 8(17), 90-101.
ชนิดา ยอดสาลี และกาญจนา บุญส่ง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(1), 1208-1223.
ประเสริฐ เตชะนาราเกียรติ. (2554). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนในช่วงชั้นที่ 4 ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ, 31(1), 89-105.
ปราณี หลำเบ็ญสะ และชิดชนก เชิงเชาว์. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ์ทางการ เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. (2560). ระเบียบการศึกษา 2559-2560. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2546). แนวทางการประเมินผลด้วยทางเลือกใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
อาภรณ์ อินต๊ะชัย .(2556). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่. (รายงานวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่.
McClelland, D.C. (1961). Human Motivation. New York: Cambridge University.
Mehrens, William A. and Lehman, Irvin J. (1975). Measurement and Evaluation in Education and Psychology. (2nd ed). New York: Holt Rinehart and Winston, Inc.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper & Row.