การสร้างทีมงานของผู้บริหารเพื่อพัฒนาศักยภาพโรงเรียนเอกชนในประเทศไทย

Main Article Content

ไชยวิทย์ แจ่มเที่ยงตรง
กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา
ชวนชม ชินะตังกูร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ 2) พัฒนากิจกรรมในแต่ละองค์ประกอบ และ 3) ยืนยันกิจกรรมในแต่ละองค์ประกอบของการสร้างทีมงานของผู้บริหารเพื่อพัฒนาศักยภาพโรงเรียนเอกชนในประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบจากเอกสาร วรรณกรรม ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์องค์ประกอบโดยการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นกับผู้บริหารโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญ จำนวน 349 คนซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .881 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ขั้นตอนที่ 3 พัฒนากิจกรรมโดยการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 4 ยืนยันกิจกรรมจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการลงมติของผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การสร้างทีมงานของผู้บริหารเพื่อพัฒนาศักยภาพโรงเรียนเอกชนในประเทศไทย มีทั้งหมด 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การพัฒนาทีมงานอย่าเป็นระบบ การประเมินผลและการปฏิบัติงาน การเสริมพลังอำนาจให้กับทีมงาน ความร่วมมือในการทำงาน กลยุทธ์ในการสร้างทีมงาน และการเลือกบุคลากรให้เหมาะสมกับงาน 2) การพัฒนากิจกรรมในแต่ละองค์ประกอบของการสร้างทีมงานของผู้บริหารเพื่อพัฒนาศักยภาพโรงเรียนเอกชนในประเทศไทย มีทั้งหมด 6 กิจกรรม และ 3) ผลการยืนยันกิจกรรมในแต่ละองค์ประกอบของการสร้างทีมงานของผู้บริหารเพื่อพัฒนาศักยภาพโรงเรียนเอกชนในประเทศไทย มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้องครอบคลุม

Article Details

How to Cite
มีมุ้ย อ., ไชยศิริธัญญา ก. ., & ชินะตังกูร ช. . (2021). การสร้างทีมงานของผู้บริหารเพื่อพัฒนาศักยภาพโรงเรียนเอกชนในประเทศไทย. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 201–214. https://doi.org/10.14456/jra.2021.43
บท
บทความวิจัย

References

ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต. (2552). ความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. เข้าถึงได้จากhttp://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1314&read=true&count=true

น้ำฟ้า ดิสภักดี และสุธรรม พงศ์สำราญ. (2559). ทีมงานคุณภาพที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) สังกัดสำนักงานเขตพระปิ่นเกล้า. วารสารเกษมบัณฑิต, 17(2), 167-176.

พรชัย เจดามาน. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. เข้าถึงได้จาก http://www.oknation.net/blog/jedaman/2013/03/29/entry-1

Cronbach, L. J. (1984). Essentials of Psychological Testing. (4th ed.). New York: Harper & Row Publishers.

Dessler, G. (1997). Human Resource Management. Upper Saddle River. New Jersey: Prentice-Hall.

Gordon, J. R. (1990). Management and Organization. Boston: Allyn and Bacon.

Hair, J. F.Jr., et al. (1998). Multivariate Data Analysis. (5th ed.). Upper Saddle Rier. NJ: Prentice Hill.

Hatcher, L. (1994). A Step-by-Step Approach to Using the SAS System for Factor Analysis and Structural Equation Modeling. Cary, NC: SAS Institute Inc.

Kaiser, H.F. (1960). The application of electronic computers to factor analysis. Educational and Psychological Measurement, 20(1), 141-151.

Likert, R. (1961). The Human Organization. New York: McGraw-Hill.

McGourty, J., & De Meuse, K (2001). The Team Developer: An Assessment and Skill building program. New York: John Wiley & Sons.

Phillips, J. J. & Phillips, P. P. (2002). Eleven Reasons Why Training and Development Fails and What You can do about It. Training, 9(9), 78-82.