รูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 2) สร้างรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ 3) ประเมินรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสาร และสัมภาษณ์ผู้บริหารของมหาวิทยาลัย จำนวน 18 รูปหรือคนโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 การจัดสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญจำนวน 11 รูปหรือคนโดยใช้เอกสารร่างรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 รูปหรือคนโดยแบบประเมินรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นแบบตรวจสอบรายการ สถิติในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละผลการวิจัย พบว่า 1) มหาวิทยาลัยมีนโยบายในการพัฒนาองค์การไปสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ทั้งระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์การ โดยมีการกำหนดแผนแม่บทการจัดการความรู้ กำหนดกลยุทธ์และสร้างวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนในการจัดการความรู้ แต่มหาวิทยาลัยมีโครงสร้างองค์การที่มีขนาดที่ใหญ่ เพราะมีส่วนงานในสังกัดจำนวนมาก จึงยังไม่สามารถทำให้มหาวิทยาลัยบรรลุวิสัยทัศน์ตามที่ตั้งไว้ได้ 2) การสร้างรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ เป็นการอธิบายเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีองค์การแห่งการเรียนรู้และวัตถุประสงค์ของการพัฒนารูปแบบ ส่วนที่ 2 ส่วนเนื้อหา เป็นการอธิบายถึงองค์ประกอบและแนวทางของการดำเนินงานเพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 5 ด้าน คือ ด้านการเรียนรู้ ด้านองค์การ ด้านบุคคล ด้านความรู้ และด้านเทคโนโลยี และส่วนที่ 3 เป็นเงื่อนไขสู่ความสำเร็จ 3) ผลการประเมินรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ ด้านความถูกต้อง ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมมีผลการประเมินรูปแบบอยู่ในระดับมากและมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กานต์สุดา มาฆะศิรานนท์. (2557). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เอ็กสเปอร์เน็ท.
ชาตรี วงค์สายสิน. (2561). รูปแบบการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 5(1), 91-100.
ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง และคณะ. (2555). กลยุทธ์การพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้สำหรับวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิจัยมข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 2(1), 94-114.
บุญเลิศ เต็กสงวน. (2557). การพัฒนารูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้โดยการแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 24(1), 198-221.
ภูษิต รุ่งแก้ว และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 19(1), 55-72.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2556). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2550). ผู้บริหารองค์กรอัจฉริยะ ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
สุรีย์มาศ สุขกสิ. (2559). รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา, 1(1), 113-146.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). รายงานชุด “แนวทางการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย” รูปแบบและภารกิจอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: วัฒนาพาณิช.
Garvin, D.A. (1993). Building a Learning Organization. Havard Business Review, 71, 78-91.
Marquardt, M. J. (2002). Building the Learning Organization: Mastering the 5 Elements for Corporate Learning. (2nd ed.). CA: Davies-Black Publishing.
Senge, P. M. (1990). The fifth disciplines: the art and practice of learning organization. New York: Doubleday.