รูปแบบความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

Main Article Content

ชุติมา จันทร์ประเสริฐ
กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา
สุขุม มูลเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี โดยการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 345 โรงเรียน โดยวิธีการเปิดตาราง Taro Yamane จากประชากร จำนวน 2,400 โรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 8 คน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยมีทั้งหมด 7 ด้าน แต่ละด้านมีข้อคำถามหรือตัวชี้วัดทั้งหมด 17 ข้อ รวมเป็น 119 ข้อ โดย ด้านที่ 1 การวางแผนด้านวิชาการ ด้านที่ 2 การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ด้านที่ 3 การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ด้านที่ 4 การวัดผลและประเมินผล ด้านที่ 5 การนิเทศการศึกษา ด้านที่ 6 การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ด้านที่ 7 การพัฒนาและการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  เมื่อนำมาวิเคราะห์เป็นโมเดลประหยัด มีความสอดคล้องกัน ทั้ง 7 องค์ประกอบมีความสัมพันธ์กัน และสามารถรวมเป็นองค์ประกอบเดียวกันได้ ถ้าสถานศึกษาใดจะนำไปใช้ จำเป็นต้องศึกษา และให้ความสำคัญในทุกด้าน ทุกองค์ประกอบ เพราะทุกองค์ประกอบมีความสำพันธ์กันและมีความสำคัญเท่า ๆ กัน

Article Details

How to Cite
จันทร์ประเสริฐ ช. ., ไชยศิริธัญญา ก. ., & มูลเมือง ส. . (2021). รูปแบบความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 143–156. https://doi.org/10.14456/jra.2021.89
บท
บทความวิจัย

References

ธีระพร อายุวัฒน์. (2552). แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมกิต บุญยะโพธิ์และประเสริฐ อิทรรักษ์. (2557). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(2), 80-95.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุริยา ห้าวหาญ, ธัชชัย จิตรนันท์ และวีรพล สารบรรณ. (2559). รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(4), 133-164.

Brown, Timothy A. (2015). Confirmatory factor analysis for applied research. (2nd Edition). New York: The Guilford Press.

Hair, Jr., Joseph F., et al. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th Edition). New Jersey: Prentice-Hall.

Wang, Jichuan and Wang, Xiaoqian. (2012). Structural Equation Modeling Applications Using Mplus. West Sussex: JohnWiley & Sons Ltd.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.) New York: Harper and Row.