การส่งเสริมการพัฒนาอาชีพตามภูมิปัญญาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลวังสำโรง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร

Main Article Content

พระยุทธนา นิติสาโร (บุญมี)
สมคิด พุ่มทุเรียน
วิทยา ชินบุตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพตามภูมิปัญญาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลวังสำโรง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยการแจกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .958 กับกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 309 คน จากประชากรจำนวนทั้งสิ้น 1,341 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 13 คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพตามภูมิปัญญาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลวังสำโรง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ประกอบด้วย 1) ด้านบุคลากร ควรมีการจัดส่งสมาชิกกลุ่มเข้ารับการอบรม มีการจัดสรรบุคลากรและเจ้าหน้าที่ไปให้ความรู้ เพิ่มทักษะความรู้แก่สมาชิก จัดหาบุคลากรมีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดฝึกทักษะแก่กลุ่มพัฒนาอาชีพ 2) ด้านงบประมาณ ควรสนับสนุนงบประมาณที่จำเป็นเร่งด่วน การจัดการซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ชำรุด มีการวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณอย่างเท่าเทียม มีการแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย อย่างเปิดเผยทำให้ชุมชนเกิดรายได้พึ่งพาตนเอง 3) ด้านวัสดุหรืออุปกรณ์ ควรสนับสนุนวัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการผลิต มีการวางแผนการใช้วัสดุและอุปกรณ์ การประเมินผลการใช้วัสดุและอุปกรณ์ มีวัสดุและอุปกรณ์ในการฝึกปฏิบัติงานหัตถกรรม สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เพื่อพัฒนาผลงานผลิตภัณฑ์ให้เกิดความทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด และ 4) ด้านการจัดการ ควรประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ ในการจัดการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง มีการพัฒนาทางด้านสถานที่ และสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกให้เหมาะสม มีการจัดสถานที่แสดงผลงานผลิตภัณฑ์ มีการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ สร้างความสัมพันธ์กันภายในกลุ่มและระหว่างองค์กร มีการประสานงานกันจึงเกิดเป็นผลสำเร็จในการทำงานของกลุ่ม

Article Details

How to Cite
(บุญมี) พ. น., พุ่มทุเรียน ส. ., & ชินบุตร ว. (2021). การส่งเสริมการพัฒนาอาชีพตามภูมิปัญญาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลวังสำโรง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 23–32. https://doi.org/10.14456/jra.2021.65
บท
บทความวิจัย

References

จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. (รายงานการวิจัย). คณะวิทยาการจัดการ: มหาวิทยาลัยศิลปากร

ชุตินธร บำรุงภักดี. (2555). แนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพงานหัตถกรรมมุกประดับ : กรณีศึกษาบ้านหนองลาดหมู่ที่ 4 ตำบลถ่อนนาลับ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. (การศึกษาอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น). วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทรงจิต พลลาภ. (2554). ศักยภาพแสะสถานภาพของภูมิปัญญาไทยเพื่อสืบสานการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ปนัดดา สัพโส, ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล และสารีพันธ์ุ ศุภวรรณ. (2561). แนวทางการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิถีสังคมมนุษย์, 6(1), 173-196.

รุ่ง แก้วแดง. (2554). ครูภูมิปัญญาไทยในรัฐธรรมนูญไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สมเกียรติ สุขุมพันธ์, กิตติ สถาพรประสาธน์และวิชัย แหวนเพชร. (2560). การพัฒนาระบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมอาชีพชุมชน. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษาปีที่, 11(2), 163-180.

องค์การบริหารส่วนตำบลวังสำโรง. (2561). แผนพัฒนาสี่ปี (พ.ศ.2561-2564). (อัดสำเนา).