ภูมิปัญญาพุทธบูรณาการ: องค์ความรู้ วิถีปฏิบัติ และการเสริมสร้างคุณค่าทางสังคมในอาเซียน

Main Article Content

พระครูพิพิธจารุธรรม
สุนทร สุขทรัยพ์ทวีผล
เจริญ มณีจักร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้และวิถีปฏิบัติทางพระพุทธ ศาสนา 2) ศึกษาการบูรณาการองค์ความรู้และวิถีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนากับสังคมในอาเซียน และ 3) วิเคราะห์การพัฒนาภูมิปัญญาพุทธบูรณาการกับการเสริมสร้างคุณค่าทางสังคมในอาเซียน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร ประกอบด้วยข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิ และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาพุทธบูรณาการในอาเซียนผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ความรู้และวิถีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา ด้านศิลปกรรม จิตรกรรมประติมากรรม และด้านหลักธรรม พบว่า มีการถ่ายทอดผ่านงานศิลปกรรมในรูปแบบต่าง ๆ เป็นการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ นิทาน คติธรรม ที่สามารถศึกษาได้จากภาพตามฝาผนังของโบสถ์ วิหาร วัด กำแพง ปราสาท พระราชวัง ที่แสดงถึงวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนสมัยนั้น ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาในการสร้างสื่อให้ผู้พบเห็นสามารถเข้าใจหลักธรรมคำสอนได้ 2) ด้านการบูรณาการองค์ความรู้และวิถีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนากับสังคมในอาเซียน พบว่า ต้องเข้าถึงหลักแนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่แฝงไว้ โดยเฉพาะพุทธศิลป์ที่เป็นพระพุทธรูป เช่น เศียรแหลม หมายถึงปัญญา หูยาน หมายถึงความอดทน มองลาดต่ำ หมายถึง สำรวมระวัง นิ้วเป็นระเบียบ หมายถึง ความสามัคคี เพื่อน้อมนำไปสู่การศึกษาและปฏิบัติในการดำเนินชีวิตและยอมรับในประเพณี ประวัติศาสตร์เชื้อชาติ ทัศนคติค่านิยมในภูมิภาคอาเซียน และ 3) การพัฒนาภูมิปัญญาพุทธบูรณาการกับการเสริมสร้างคุณค่าทางสังคมในอาเซียน พบว่า ต้องใช้หลักธรรมเป็นแกนในการบูรณาการ โดยยึดหลักเมตตา กตัญญูกตเวที สามัคคีและมัชเฌนธรรม ให้ประสานกับการดำเนินชีวิต ในการพัฒนาสังคมอาเซียนไปสู่ความสุข สงบ อย่างยั่งยืนต่อไป  

Article Details

How to Cite
กวางทอง พ., สุขทรัยพ์ทวีผล ส. ., & มณีจักร์ เ. . (2021). ภูมิปัญญาพุทธบูรณาการ: องค์ความรู้ วิถีปฏิบัติ และการเสริมสร้างคุณค่าทางสังคมในอาเซียน. วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 11–22. https://doi.org/10.14456/jra.2021.64
บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ พึ่งเทียร. (2553). พุทธศิลป์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ประเวศ วะสี. (2539). ยุทธศาสตร์ทางปัญญาของชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิปัญญา.

พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ และคณะ. (2561). การบูรณาการองค์ความรู้หลักการและวิถีปฏิบัติตามแนวทางศาสนาเพื่อการพัฒนากระบวนการสร้างสันติภาพ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(2), 474-489.

พระมหาทองสุข สุจิตฺโต (ไกรพงษ์). (2540). การศึกษาวิเคราะห์วิถีชีวิตมนุษย์ในทรรศนะพุทธปรัชญา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมพงษ์ ชินวํโส และคณะ. (2561). การประยุกต์ใช้หลักพุทธสันติวิธีเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมของพระวิทยากรวิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 119-133.

ศิริชัย พุ่มมาก. (2557). องค์ความรู้จากลักษณะจิตรกรรมประเพณีไทย สู่การเดินทางแห่งการสร้างสรรค์ศิลปะของศิริชัย พุ่มมาก พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน. คณะศิลปกรรมศาสตร์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. เข้าถึงได้จาก https://www.finearts. pn.psu.ac.th

สุวิญ รักสัตย์. (2548). สาส์นจากบก. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 5(9), 1-2.