ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และบุคลากรทางการศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

โกวิท บุญด้วง
กฤษณะ ดาราเรือง
สมศักดิ์ สุภิรักษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ และ 3) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 272 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความตรงระหว่าง 0.60 -1.00 และค่าความเที่ยงภาวะผู้นำทางวิชาการ เท่ากับ .989 และแรงจูงใจเท่ากับ .981 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครสวรรค์  โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง 2) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และบุคลากรทางการศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ระหว่าง .530 - .684 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ ด้านการกำหนดภารกิจของสถาศึกษา ด้านการเสริมสร้างบรรยากาศวิชาการของสถานศึกษา และด้านการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน สามารถอธิบายความแปรปรวน หรือทำนายแปรตาม คือ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ ได้ร้อยละ 68.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
บุญด้วง โ., ดาราเรือง ก. ., & สุภิรักษ์ ส. . (2021). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และบุคลากรทางการศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 125–136. https://doi.org/10.14456/jra.2021.73
บท
บทความวิจัย

References

กัญญ์วรา เครื่องพาที. (2556). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: บุ๊คพอยท์.

ณัฐกฤตา สิทธิฤทธิ์. (2556). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนครพนม.

นริศ สวัสดี. (2552). ปัจจัยด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. (สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญเลิศ ตองติดรัมย์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ภูมิภัทร สุวรรณศรี. (2560). ภาวะผู้นำเชิงวิถีเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนคาทอลิค สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

เมตตา สอนเสนา. (2557). ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เย็นตะวัน แสงวิเศษ. (2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการดําเนินงานการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษา ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภัทร วีระวุฒิ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Leithwood, K. (2006). A review of the research: Educational leadership. The laboratory for student success at the temple university center for research in human development and education. University of Toronto. Retrieved from http://www.temple.edu/lss.