รูปแบบสมการโครงสร้างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

Main Article Content

จำเนียร นิลพวง
กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา
สุขุม มูลเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบสมการโครงสร้างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ 2) ยืนยันรูปแบบสมการโครงสร้างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประชากร คือ ครูและผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยกำหนดจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์พหุระดับโดยใช้โปรแกรม Optimal design ได้กลุ่มตัวอย่างผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 40 โรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนละ 1 ตัวอย่าง และครูโรงเรียนละ 8 ตัวอย่าง รวมตัวอย่างทั้งสิ้น 360 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่าการสร้างรูปแบบสมการด้วยโปรแกรม Mplus ประกอบด้วย 3 โมเดล ได้แก่ 1) รูปแบบสมการโครงสร้างพหุระดับ Random intercept โมเดลเต็ม 2) รูปแบบสมการโครงสร้างพหุระดับโมเดลพหุระดับกลุ่มพหุจำแนกตามเพศ และ 3) รูปแบบสมการโครงสร้างพหุระดับโมเดลพหุระดับกลุ่มพหุจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่าผลการวิเคราะห์ระดับที่ 1 ครูมีความผูกพันต่อองค์กร ทัศนคติ และการทำงานเป็นทีมซึ่งมีอิทธิพลในทางบวกต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู และครูแต่ละคนมีความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูแตกต่างกัน ส่วนผลการวิเคราะห์ในระดับที่ 2 ระดับโรงเรียนบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมไม่มีผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และโรงเรียนแต่ละแห่งมีความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพไม่แตกต่างกัน ผลการยืนยันรูปแบบสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องของโมเดลการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าไคสแควร์เท่ากับ 8.287 และมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่า df เท่ากับ 3 ค่า p-value เท่ากับ 0.0404 ค่า CFI เท่ากับ 0.994 ค่าดัชนี TLI เท่ากับ 0.976 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.074 ค่าSRMRw เท่ากับ 0.001 ค่า SRMRb เท่ากับ 0.013 และค่า/df เท่ากับ 2.762

Article Details

How to Cite
นิลพวง จ., ไชยศิริธัญญา ก. ., & มูลเมือง ส. . (2021). รูปแบบสมการโครงสร้างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา . วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 107–120. https://doi.org/10.14456/jra.2021.86
บท
บทความวิจัย

References

ฐาปณัฐ อุดมศรี . (2558). รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ฤทธิ์ อินทนามง. (2553). การพัฒนาหลักเทียบสำหรับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบันฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา). คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐิกา นครสูงเนิน สมศักดิ์ สีดากุลฤทธิ์ และ สมาน นาวาสิทธิ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 10(31), 7-18.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2535). การวิเคราะห์ประมาณค่าส่วนประกอบความแปรปรวน (Analysis of Variance Component Estimation), ข่าวการวิจัย, 15(4), 9-14.

บุญมี เลิศศึกษากุล, พิมพ์อร สดเอี่ยม, และ สุคนธ์ สุคนธรัตนสุข. (2557). เสนอรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบวิชาชีพในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 30-39.

พิมพ์อร สดเอี่ยม. (2555). การพัฒนาตัวแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพในโรงเรียนมัธยม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 12(1), 163-175.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2561). วิเคราะห์องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC). วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศึกษาศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 2774-2791.

วทัญญู ภูครองนา, วิชัย วงษ์ใหญ่, สงวนพงศ์ ชวนชม และศรุดา ชัยสุวรรณ. (2558). ตัวแปรที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารงานวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 5(1), 39-49.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด และเอกรินทร์ สังทอง. (2557). โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 25(1), 93-102.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด, เอกรินทร์ สังทอง และชวลิต เกิดทิพย์. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 12(1), 123-134.

ศยามล อินสะอาด, ฐิติยา เนตรวงศ์, และศิวนิต อรรถวุฒิกุล. (2560). ศึกษาการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อสร้างชุมชนนักปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ไอซีทีของครูสังกัด สพฐ. Veridan E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษศาสตร์ สังคมศึกษา และศิลปะ, 10(2), 795-995.

ศิวกร รัตติโชติ. (2561). แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพเพื่อการวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: วิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธีการ. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2560). บทวิเคราะห์การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ประจำปี 2017 - 2018 โดย World Economic Forum: WEF. เข้าถึงได้จาก http://sti.or.th.

สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา. (2556). การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู โดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง. เข้าถึงได้จาก http://www.youtube.com/watch?v=aQzyUmQnn Q.

สุขุม มูลเมือง และคณะ. (2561). เอกสารประกอบการสอนสถิติขั้นสูงเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์และทางการศึกษา การวิเคราะห์พหุระดับ การประยุกต์ใช้โปรแกรม Mplus. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

สุขุม มูลเมือง. (2558). โมเดลสมการโครงสร้าง: การประยุกต์ใช้โปรแกรม AMOS และ Mplus. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

อำไพ นงค์เยาว์, ชนม์ชกรณ์ วรอินทร์ และอนุชา กอนพ่วง. (2560). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 10(1), 132-143..

Bollen, K. A. (1989). Structural equations with latent variables. New York: Wiley.

Diamantopoulos, A., & Siuaw, J. A. (2000). Introduction to LISREL: A guide forthe uninitiated. London: SAGE Publications, Inc,.

Horton, J. N., & Martin, B. N. (2009). The role of district administration in the establishment of professional learning communities. Columbia: University of Missouri-Columbia.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. (3rd Edition). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Willis, J. C., & Templeton, N. R. (2017). Investigating the establishment and sustainability of professional learning communities in rural east Texas: The principal’s perspective. Rural Educator, 38(1), 30-37.