คุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนจีนเอกชนในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เบญจพร ห่อประเสริฐ
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำ และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนจีนเอกชนในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการแจกแบบสอบถามกับประชากร จำนวน 200 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนจีนเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนจีนเอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านมีความซื่อสัตย์สุจริต มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านมีความมุ่งมั่นพัฒนา มุ่งความสำเร็จ และด้านมีความกระตือรือร้น มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) แนวทางพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนจีนเอกชนในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 2.1) ด้านมีสติปัญญาที่ชาญฉลาด ผู้บริหารควรมีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ในการวางนโยบายและวางแผนงาน 2.2) ด้านมีความซื่อสัตย์สุจริต ผู้บริหารควรเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักความจริงและความถูกต้องในการดำเนินชีวิต 2.3) ด้านมีความเชื่อมั่นในตนเอง ผู้บริหารต้องกล้าพูด กล้าคิด และกล้าที่จะลงมือทำเพื่อริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ เคารพและเห็นคุณค่าในตนเอง 2.4) ด้านมีวุฒิภาวะด้านอารมณ์และจิตใจ ผู้บริหารควรมีการแสดงออกทางความคิด อารมณ์ความรู้สึกในทางที่ดี 2.5) ด้านมีความมุ่งมั่นพัฒนา มุ่งความสำเร็จ ผู้บริหารควรมุ่งที่จะจัดสรรทรัพยากรอย่างทั่วถึง และส่งเสริมการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาบุคลากรได้อย่างเหมาะสม และ 2.6) ด้านมีความกระตือรือร้น ผู้บริหารควรมีความใฝ่รู้ ใส่ใจในการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถของตนเองและผู้อื่นอยู่เสมอ ทันต่อเหตุการณ์ โดยการประยุกต์ทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้ดีขึ้นกว่าเดิม

Article Details

How to Cite
ห่อประเสริฐ เ., & เพชรสมบัติ พ. . (2021). คุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนจีนเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 65–78. https://doi.org/10.14456/jra.2021.83
บท
บทความวิจัย

References

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2560). ภาวะผู้นำทางการบริหาร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์. (2563). High Performance Organization. เข้าถึงได้จาก http://www.tako.moph.go.th/takmoph/download/pmqa/HPOContent.pdf

พัทยา ทวยเศษา. (2558). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

รัตติภรณ์ จงวิศาล. (2557). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Barnard, C. I. (2009). Management. Retrieved from www.kunkroo.com

Bass, M. B. (1990). Bass & Stogdill’s Handbook of Leadership: Theory Research, And Managerial Applications. (3rd ed.). Columbus, Ohio: Collegiate.

Bowin, R. B., & Attaran, M. (1987). The Ghiselli study of abilities and traits of more and less successful middle managers: A replication. Psychological Reports, 60(3), 1275-1277.

Dessler, G. (1998). Leading People and Organizations in the 21st Century. New Jersey: Prentice Hall.

Dubrin, A. J. (2004). Leadership research finding. Practice and skills. (4th ed). New York: McGraw-Hill.

Edwin A. Locke and Kirkpatrick S. (1991). The Essence of Leadership: The Four Keys to Leading Successfully. New York: Lexington Books.

Fair, R. W. (2001). A Study of New Jersey Public School Superintendents' Perceptions Regarding the Behavioral Characteristics of Effective Elementary School Principals. (Dissertation of the degree of Doctor of Education). New Jersey: Seton Hall University.

Grogan, M. & Andrews, R. (2002). Defining Preparation and Professional Development for the Future. Educational Administration Quarterly, 38(2): 233-256.

Hart, S., and R. Quinn. (1993). Roles Executives Play: CEOs, Behavioral Complexity and Firm Performance. Human Relations, 46(5), 543-574.

Hoy, W. K., and Miskel, C. G. (2001). Education and Administration Theory, Research, and Practice. (6th ed.). New York: McGraw Hill.

Likert, R. (1967). The Human Organization: Its Management and Value. New York: McGraw Hill.

Nadler, D. A., & Tushman, M. L. (1980). A model for diagnosing organizational behavior. Organizational Dynamics, 9(2), 35-51.

Stogdill, R. M. (1948). Personal Factors Associated with Leadership: A Survey of the Literature. Journal of Psychology, 25

Stogdill, R. M. (1974). Handbook of leadership. New York: Free Press.

Yukl, G. A. (1999). Leadership in Organization. New York: Prentice Hall Inc.