ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา

Main Article Content

ดุลคิพลี หลังจิ
เอกรินทร์ สังข์ทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา 2) ศึกษาระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา และ 4) ค้นหาตัวพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา จำนวน 237 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า มี 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา มีภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา มีความสัมพันธ์กับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ .834 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์สูงมาก และ 4) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา องค์ประกอบการมีวิธีการคิดเชิงปฏิวัติ การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ การมุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม และการปลูกฝังวัฒนธรรมองค์การ มีความสามารถพยากรณ์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา ร้อยละ 69.7

Article Details

How to Cite
หลังจิ ด., & สังข์ทอง เ. . (2021). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา. วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 93–106. https://doi.org/10.14456/jra.2021.85
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ปนัดดา วรกานต์ทิวัตถ์. (2555). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครู. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ปรียากร อรุณจินดาตระกูล, สมบูรณ์ บูรศิริรักษ์ และอภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์. (2561). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 15(29), 11-20.

ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). ปัตตานี: ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เพ็ญประภา สาริภา. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับ ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

เฟาซีย๊ะ บินแวมะยิ. (2553). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนราธิวาสตามทัศนะของผู้บริหารและครู. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มนสิชา ธรรมรักษ์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มันทนา กองเงิน, และสำเริง อ่อนสัมพันธุ์. (2555). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2(2), 201-209.

ระวิวรรณ บุญสม. (2554). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับประถมศึกษาตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 3. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์.

วีรวุธ มาฆะศิรานนท์. (2545). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: แอคทิฟ พริ้นท์.

สุกัญญา มกุฏอรฤดี. (2551). การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่การบริการเป็นเลิศด้วย 4 Learn ในงานห้องสมุด. วารสารโดมทัศน์, 29(2), 57–58.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2550). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Dubrin, A.J. (2004). Leadership research finding. Practice and skills. (4th ed). New York: McGraw-Hill.

Senge, P. (1990). The fifth discipline: The art & practice of the learning organization. London: Century Business.