รูปแบบพุทธบูรณาการการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน 2) สร้างรูปแบบพุทธบูรณาการการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน และ 3) ประเมินรูปแบบพุทธบูรณาการการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี แบงออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 คน โดยการสัมภาษณ์ ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบพุทธบูรณาการการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 รูปหรือคน โดยการจัดสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบพุทธบูรณาการการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมิน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านลักษณะส่วนบุคคล ด้านความสามารถในการทำงาน ด้านคุณลักษณะของผู้บริหาร ด้านการสนับสนุนทางสังคม และด้านบรรยากาศขององค์การ 2) รูปแบบพุทธบูรณาการการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย แนวคิด ทฤษฎี และวัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 เนื้อหา ประกอบด้วย ด้านลักษณะส่วนบุคคล ด้านความสามารถในการทำงาน ด้านคุณลักษณะของผู้บริหาร ด้านการสนับสนุนทางสังคม และด้านบรรยากาศขององค์การ ส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จ ประกอบด้วย (1) นโยบาย (2) ครูและผู้บริหารสถานศึกษาให้ความสำคัญ มองเห็นคุณค่าและสร้างบรรยากาศในการทำงาน (3) ชุมชน กรรมการสถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมและสร้างเครือข่ายที่ดีในการทำงาน และ 3) ผลการประเมินรูปแบบพุทธบูรณาการการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู โดยภาพรวม ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
โกเมศ กุลอุดมโภคากุล. (2546). การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาเอกชน จังหวัดจันทบุรี. (งานนิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทัศนีย์ ชาติไทย. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พระมหาภานุวัฒน์ แสนคำ และสมชาย บุณศิริเภสัช. (2558). การบริหารตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15 (น. 875-885). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
พระราชวุธ ปญฺญาวชิโร และคณะ. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(2), 130-142.
มณภัสสรณ์ เสถียรบุตร. (2558). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดยะลาเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
เมธี น้อมนิล. (2556). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
วิลาสินี วัฒนมงคล. (2561). วิกฤตการศึกษาไทยในยุค 4.0. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 6(1), 427-444.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. เรื่องนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. เข้าถึงได้จาก http://www.moe.go.th.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2545). การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุทธิวัชร์ ทับเจริญ. (2563). ตรวจสอบกิจการสหกรณ์. วารสารสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครสวรรค์ จำกัด, ไตรมาสที่ 2 (มีนาคม), 9.
สุรพล กมุทชาติ. (2563). ก้าวที่มั่นคง. วารสารสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครสวรรค์ จำกัด, ไตรมาสที่ 1 (เดือนมีนาคม), 2.
สุริยา ห้าวหาญ และคณะ. (2559). รูปแบบการบริหารความเป็นเลิศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(4), 133-164.
สุรีรัตน์ โตเขียว. (2560). รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อานนท์ เมธีวรฉัตร. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารของวิทยาลัยสงฆ์ สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2560). ความสุขของแรงงานไทยมาจากอะไร?: ผลกระทบของสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความสมดุลของงานและชีวิต และสุขภาพจิตที่มีต่อระดับความสุข. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 57(4), 48-80.