เครือข่ายการค้ายาเสพติดกับการคงอยู่ในประเทศไทย

Main Article Content

สุระศักดิ์ ฉายขุนทด
สมยศ ปัญญามาก
พลกฤต สงวนศักดิ์
พร้อมพล สัมพันธโน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ผู้อ่านได้ทราบ และเข้าใจถึงปัญหายาเสพติด โดยมีขอบเขตของเนื้อหาเพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์การค้ายาเสพติด และเครือข่ายการค้ายาเสพติด ผลการศึกษา พบว่า ยาเสพติดเป็นวัตถุมีพิษชนิดหนึ่งที่เป็นสาร หรือยาที่ได้จากพืช หรือส่วนของพืช ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ หรือจากการสังเคราะห์สารเคมี แล้วให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ เมือผู้ใดเสพเข้าสู่ร่างกายด้วยการรับประทาน ดม สูบ หรือและฉีดซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ๆติดต่อกัน จะก่อให้เกิดอาการพิษเรื้อรัง ตกเป็นทาสอยู่ใต้อำนาจของสิ่งที่เสพเข้าไปต้องเพิ่มปริมาณการเสพมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อขาดยาหรือหยุดเสพจะปรากฏอาการถอนยามีอาการผิดปกติร่างกายและจิตใจเสื่อมโทรม และเป็นต้นเหตุแห่งอาชญากรรมที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนในสังคม การค้ายาเสพติดมีการแผ่ขยายออกไปเป็นวงกว้าง โดยมีลักษณะของเครือข่ายการค้ายาเสพติด ที่เป็นกลุ่มของบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งความสัมพันธ์ทั้งหมดของกลุ่มบุคคลเหล่านั้น เป็นความสัมพันธ์ในทุก ๆ ด้าน มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันในกลุ่ม และมีพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ต่าง ๆ จึงเรียกได้ว่าเป็นกระบวนการหรือเครือข่ายการค้ายาเสพติด ประกอบด้วย เครือข่ายการค้ายาเสพติด เครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ เครือข่ายการค้ายาเสพติดพื้นที่ชายแดน (ภาคเหนือ) เครือข่ายการค้าส่งยาเสพติดในพื้นที่ และเครือข่ายการค้ายาเสพติดในเรือนจำ

Article Details

How to Cite
ฉายขุนทด ส. ., ปัญญามาก ส., สงวนศักดิ์ พ. ., & สัมพันธโน พ. . (2021). เครือข่ายการค้ายาเสพติดกับการคงอยู่ในประเทศไทย . วารสารวิจยวิชาการ, 5(1), 317–330. https://doi.org/10.14456/jra.2022.25
บท
บทความวิชาการ

References

การุณย์ บัวเผื่อน. (2545). เครือข่ายยาบ้าในสังคมไทย: ศึกษาจากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติด. วารสารรัฏฐาภิรักษ์, 44(3), 77-110.

จรัส สุวรรณมาลา. (2538). การบริหารงานคลังสาธารณะ. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จำเริญ สุภาคำ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำความผิดเกี่ยวกับคดียาเสพติดยาบ้าของผู้ค้า ที่เป็นนักโทษเด็ดขาดในเรือนจำพื้นที่เขต 5 ในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 5(1), 1-10.

นิติรัฐ พัสกรพินิจังหวัด. (2552). การบังคับใช้กฎหมายยาเสพติด ศึกษาในกรณีการปราบปรามผู้กระทำความผิดยาเสพติดรายสำคัญ. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์).คณะนิติศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2553). ความรู้และแนวทางการป้องกันและปราบปรามแก้ไขปัญหายาเสพติด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2557). แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2562). ความรู้และแนวทางการป้องกันและปราบปรามแก้ไขปัญหายาเสพติด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2563). ความรู้และแนวทางการป้องกันและปราบปรามแก้ไขปัญหายาเสพติด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย. (2543). ยาและสิ่งเสพติดให้โทษ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

โสภา ชปีลมันน์. (2543). อาชญากรรม : ปัญหาที่ควรแก้ไขในสังคมปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.