กระบวนการพิจารณาคำร้องและการระงับข้อพิพาททางเลือกเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558

Main Article Content

พิมลพร อินทนุพัฒน์
สิริพันธ์ พลรบ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับหลักความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะกรณีความเท่าเทียมระหว่างเพศ 2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาคำร้องและการระงับข้อพิพาททางเลือกตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 และกฎหมายต่างประเทศ และ 3) วิเคราะห์ปัญหาการใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาคำร้องและการระงับข้อพิพาททางเลือกตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 และกฎหมายต่างประเทศ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากตัวบทกฎหมาย บทความ วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์ปัญหาพร้อมเสนอแนวทางในการแก้ไข ผลการวิจัย พบว่า 1) มนุษย์ทุกคนต้องถูกรับรองและคุ้มครองภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศตามหลักความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติอันเป็นหลักพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน 2) ประเทศไทยนำหลักการดังกล่าวมาใช้คุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ โดยตราพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ขึ้น กำหนด ให้คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (คณะกรรมการ วลพ.) พิจารณาวินิจฉัยคำร้องการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ แต่ไม่มีบทบัญญัติให้นำวิธีระงับข้อพาททางเลือกมาใช้ยุติข้อพิพาทดังกล่าวต่างจากกฎหมายการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศของประเทศออสเตรเลีย และ 3) วิเคราะห์ปัญหาพบว่า กระบวนการพิจารณาคำร้องตามกฎหมายมีขั้นตอนและระยะเวลาอยู่พอสมควร ซึ่งคำร้องส่วนใหญ่ใช้เวลาพิจารณาวินิจฉัยเกินกว่า 1 ปี แต่ผู้ร้องบางกรณีอาจประสงค์จะใช้วิธีระงับข้อพิพาททางเลือกเป็นทางเลือกในการยุติข้อพิพาทของตนโดยเร็ว

Article Details

How to Cite
อินทนุพัฒน์ พ. ., & พลรบ ส. . (2021). กระบวนการพิจารณาคำร้องและการระงับข้อพิพาททางเลือกเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 . วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 199–214. https://doi.org/10.14456/jra.2021.53
บท
บทความวิจัย

References

“พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558”. (2558, 13 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 132 ตอนพิเศษ 18 ก, หน้า 17.

“ระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นคำร้อง การพิจารณา และการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ พ.ศ. 2559”. (2559, 1 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 133 ตอนพิเศษ 194 ง, หน้า 1.

“ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง พ.ศ. 2562”. (2562, 30 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนพิเศษ 94 ก, หน้า 9.

“ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการร้องขอการรวบรวมพยานหลักฐาน การไกล่เกลี่ย การวินิจฉัย และค่าตอบแทนของคณะอนุกรรมการหรือผู้ไกล่เกลี่ย เกี่ยวกับการกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ พ.ศ. 2556”. (2556, 16 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 130 ตอนพิเศษ 182 ก, หน้า 25.

จิตราภรณ์ นัสพงศ์ และปิยะวรรณ แก้วศรี. (2562). รายงานการศึกษาการทบทวนความก้าวหน้าของการบังคับใช้พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP).

ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบรูณะและพัฒนาธนาคารโลก (2561). การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของกลุ่ม LGBTI ในประเทศไทย (2017). เข้าถึงได้จาก http://documents.World bank.org/curated/en/527451521822208295/pdf/124554-v1-THAI-Executive -Summary-Thai-23-March-format.pdf.

บุษกร สุริยสาร. (2557). อัตลักษณ์และวิถีทางเพศในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ.

ภานุ รังสีสหัส. (2548). รวมบทความการไกล่เกลี่ยและประนีประนอมข้อพิพาทและความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม.

Sex Discrimination Act. (1984). Section 28A. Retrieved from https://www.Human rights. gov.au/sites/default/files/document/publication/EWSH_2014_ We b.pdf