ละครสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาซอร์ฟสกิล

Main Article Content

ราเชล แย้มสุนทร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ ได้มีการสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมงานวิจัยและสังเคราะห์การจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะของเด็กและเยาวชนในประเทศไทย เอกสารที่ทำการทบทวนเป็นงานวิจัยที่ได้เน้นการพัฒนาจรณทักษะ (ซอร์ฟสกิล) ในตัวบุคคลที่ควรมี ระหว่างปีพ.ศ. 2545-2560 พบเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 6 เรื่อง ผลการศึกษา พบว่า งานวิจัยที่มีการจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ ในเด็กและเยาวชน ได้แก่ การช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน ด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง ด้านความคิดสร้างสรรค์ และด้านการสื่อสารด้วยท่าทาง การจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์ยังขาดการพัฒนาทักษะการทำงานกับผู้อื่น ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญเพราะจะต้องใช้ในการปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

Article Details

How to Cite
แย้มสุนทร ร. (2021). ละครสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาซอร์ฟสกิล. วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 305–318. https://doi.org/10.14456/jra.2021.102
บท
บทความวิชาการ

References

โกมล ศรีทองสุข. (2560). กิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันของเด็กก่อนวัยเรียน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 18(2), 187-200.

ถลัชนันท์ ชัยนเรศ. (2558). ผลของละครสร้างสรรค์ต่อการมองเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กและเยาวชนที่ถูกกระทำทารุณกรรม ที่มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก: การศึกษานำร่อง. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต). คณะแพทย์ศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนาภร สุขยิ่ง. (2553). ผลของการจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์ที่มีต่อความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เบญจรัตน์ นุชนาฏ์ และคณะ (2555). พัฒนาการของเด็กวัยเรียน 6-12 ปี.เข้าถึงได้จาก https:// www.gotoknow.org/posts/305078

วลิสา จิรัตกิติวงศ์. (2558). ผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ). คณะมนุษยศาสตร์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมบูรณ์ ทาทอง. (2552). การส่งเสริมทักษะการสื่อสารด้วยท่าทางโดยกระบวนการละครสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่1 โรงเรียนบ้านหนองมะจับ จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุจิตรา แก้วสีนวล. (2545). ประสิทธิผลของสื่อละครสร้างสรรค์ที่มีต่อการสร้างการมองเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กถูกกระทำทารุณกรรม. (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน). คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Schroeter, Robin. (2018). การแสดงละครสร้างสรรค์สำหรับเด็กที่กรุงเทพ. เข้าถึงได้จาก http:// robinschroeter.de/th/2018/12/24