แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 15

Main Article Content

ฮัมดี้ คอแด๊ะ
เอกรินทร์ สังข์ทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ เปรียบเทียบ และศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นครู จำนวน 318 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิตวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการทดสอบค่าเอฟ การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง นำมาวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู อยู่ในระดับมาก 2) ภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูที่มีคุณวุฒิทางการศึกษาแตกต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูที่มีประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกันโดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูที่ปฏิบัติงานในสถานที่มีศึกษาขนาดต่างกัน โดยภาพรวมต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการของผู้บริหารสถานศึกษา สรุปได้ดังนี้ 3.1) ผู้บริหารควรพัฒนาประสบการณ์และองค์ความรู้เกี่ยวกับการประกอบการ สร้างความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ และคำนึงถึงที่ตั้งในการกำหนดวิสัยทัศน์ 3.2) ผู้บริหารควรรับฟังความคิดเห็นจากหลายฝ่าย มีการวิเคราะห์และตัดสินใจ และจัดการความเสี่ยงด้วยหลัก 4 Ms 3.3) ผู้บริหารควรเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการคิดแบบสร้างสรรค์ 3.4) ผู้บริหารควรสังเคราะห์บริบทที่ตั้งของสถานศึกษาและให้นักเรียนระเบิดความคิดเพื่อสร้างนวัตกรรม และ 3.5) ผู้บริหารควรทำงานเชิงรุกมากขึ้นด้วยการเรียนรู้จากปัญหาที่มีและเปิดใจเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง อีกทั้งสร้างเครือข่ายในการประกอบการ

Article Details

How to Cite
คอแด๊ะ ฮ., & สังข์ทอง เ. . (2021). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 15 . วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 221–234. https://doi.org/10.14456/jra.2021.95
บท
บทความวิจัย

References

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงิน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไตรมาส 4 ปี 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ Southern/Reasearch Paper/3Province_south_Q162.pdf

ยุพาพร ทองอินทร์. (2555). ความคิดเห็นเกี่ยวกับบรรยากาศการสื่อสารในองค์กรของพนักงานโรงแรมโมแวนพิค รีสอร์ท แอนด์สปา กะรนพีช ภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc. go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ พ.ศ. 2560-2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

Bagheri, A & Pihie, L. A. Z. (2011). On Becoming an Entrepreneurial Leader: A focus on the impacts of university entrepreneurship programs. American Journal of Applied Sciences, 8(9), 884-892.

Creswell, J. W. & Clark, V. P. (2011). Designing and conducting mixed methods research. (2nd ed.). Los Angeles: SAGE Publications

Gautam, K. M., & Singh, K. S. (2015). Entrepreneurship education: Concept, eharacteristics and implications for teacher education. Shaikshik Parisamvad, 5(1), 21-35.

Kasper, A. (2019). Entrepreneurial orientation and its effects in a Jewish day school: A Case Study of a Jewish High School. (Doctoral Thesis). Boston, Massachusetts: Northeastern University.

Köybaşi, F. & Uğurlu, C. T. (2016). School principals’ opinions about level of their entrepreneurship. European Journal of Social Sciences, 3(3), 125-129.

Kuratko, D. F., & Hodgetts, R. M. (1998). Entrepreneurship: A Contemporary Approach. Fort Worth: Dryden Press.

Pihie, Z A. L., Asimiran, S., & Bagheri, A. (2014). Entrepreneurial leadership practices and school innovativeness. South African Journal of Education, 34(1), 1-11.

Rey L. D. A. (2018). The role of entrepreneurial leadership of principals in high performing schools. (Dissertation of Education Management). Faculty Education: University of Pretoria.

Sanchez, J.C., Ward, A., Hernández, B., & Florez, J. (2017). Entrepreneurship Education: State of the Art. Propósitos y Representaciones, 5(2), 401-473.

Singh, A., & Masuku, M. (2014). Sampling Techniques & Determination of Sample Size in Applied Statistics Research: An Overview. International Journal of Economics, Commerce and Management, 2(11), 1-22.

Smith, B. S. (2016). The Role of Leadership Style in Creating a Great School. Saskatchewan Educational Leadership Unit Research Review Journal, 1(1), 65-78.