เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการค้าทุเรียนกรณีศึกษาการค้าของพ่อค้าคนกลาง ในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

วงธรรม สรณะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการการค้าและกลยุทธ์ทางการค้าทุเรียนของพ่อค้าคนกลางในจังหวัดจันทบุรี ตามแนวคิดว่าด้วยเศรษฐศาสตร์การเมือง โดยใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วมแนวสหวิทยาการ ประกอบด้วย เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เอกสารทางสถิติ การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างโดยเป็นการสัมภาษณ์ผู้กระทำการ ณ ตลาดสินค้าทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการในทางการค้าทุเรียนของพ่อค้าคนกลาง พบว่า กลุ่มพ่อค้าจะมีกระบวนการโดยเริ่มจากการสำรวจข้อมูลสินค้าเบื้องต้นหลังจากนั้นจะเสนอราคาสินค้าต่อชาวสวน ก่อนทำการตกลงในเก็บเกี่ยว เช่น เก็บเกี่ยวบางส่วน หรือเก็บเกี่ยวทั้งหมด จากนั้นจะใช้ทีมงาน ได้แก่ มือตัด มือรับ มือขน มาดำเนินการเก็บเกี่ยว ตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นดำเนินการคัดแยกคุณภาพ-ขนาด หลังจากนั้นจึงรวบรวมส่งไปยังล้งรับซื้อ หรือตลาดรวบรวม ส่วนทุเรียนคุณภาพด้อยไม่สามารถส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ พ่อค้าจะเสนอราคาและเงื่อนไขใหม่ต่อชาวสวน ในส่วนนี้พ่อค้าสามารถสะสมกำไรได้เพิ่มขึ้น 2) กลยุทธ์ทางการค้าของพ่อค้าคนกลาง พบว่า พ่อค้าที่เข้าดำเนินการในสวนของชาวสวนทุเรียนก่อนพ่อค้ารายอื่น ๆ สามารถเลือกเก็บเกี่ยวทุเรียนคุณภาพดีเรียกว่า “เล็มหัว” ทำให้พ่อค้าสร้างผลกำไรได้มากขึ้น

Article Details

How to Cite
สรณะ ว. . (2021). เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการค้าทุเรียนกรณีศึกษาการค้าของพ่อค้าคนกลาง ในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 167–178. https://doi.org/10.14456/jra.2021.91
บท
บทความวิจัย

References

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2559). วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคม. จันทบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ณิชากร ศรีบุญ, ศศิธร สุขเจริญ และอรดา ขาวพรม. (2561). กระบวนการค้าทุเรียนของพ่อค้าคนกลางในจังหวัดจันทบุรี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ทวีศักดิ์ เกิดโภคา. (2562) . อนาคตทุเรียนไทยภายใต้ความท้าทาย ราคาดีปีนี้อีก 5 ปีอยู่ตรงไหน. เข้าถึงได้จาก https://prachatai.com/journal/2018/07/78050.

วงธรรม สรณะ. (2561). เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยห่วงโซ่สินค้าของผลไม้ภาคตะวันออก: ศึกษากรณีทุเรียน. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(1), 82-92.

สมพร อิศวิลานนท์. (2562). สถานการณ์การผลิตและการบริโภคทุเรียนของโลกและการส่งออกทุเรียนของ ไทย. เอกสารประกอบในเวทีเสวนา “ส่องอนาคตตลาดทุเรียนส่งออกไทย” จัดโดย สถาบันคลังสมองของชาติร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) วันที่ 7 มิถุนายน 2562. เข้าถึงได้จาก https://www. trf.or.th/component/attachments/download/4827.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2559). ข้อมูลดัชนีราคาและผลผลิตเกษตร. เข้าถึงได้จาก http:// www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=9749.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). ราคาทุเรียนโดยเฉลี่ย รายเดือนที่เกษตรกรขายได้ที่สวน ทั้งประเทศ ปี 2548-2562. เข้าถึงได้จากhttp://oae.go.th/view/1/%E0%B8%94% E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95/TH-TH

สำนักเลขาธิการ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2561). มติคณะรัฐมนตรี โครงการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor). เข้าถึงได้จาก http://www.cabinet.soc. go.th/soc/Program2-3.

Gereffi, G, & Pan, M-L. (1994). The globalization of Taiwan's garment industry. in Global Production: The Apparel Industry in the Pacific Rim. Philadelphia, PA: Temple University Press.

Hopkins, T. K., & Wallerstein, I. (1986). Commodity chains in the world-economy prior to 1800. Review, 10(1), 157-170.