พุทธกระบวนทัศน์กับวิถีปฏิบัติของพระมหาเถระในสังคมไทย

Main Article Content

พระครูพิพิธจารุธรรม
พระปลัดดำรงค์ ภทฺทมุนี
เจริญ มณีจักร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนทัศน์ของพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของพุทธกระบวนทัศน์กับวิถีปฏิบัติของพระมหาเถระในสังคมไทยและ 3) วิเคราะห์พุทธกระบวนทัศน์กับการสร้างอัตลักษณ์และวิถีปฏิบัติแห่งพระสงฆ์ไทย เป็นเชิงคุณภาพศึกษาจากเอกสาร ประกอบด้วยข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิ และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับกระบวนทัศน์และวิถีปฏิบัติ ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนทัศน์ของพระพุทธศาสนา เน้นหลักไตรสิกขาที่เป็นคำสอนในพระพุทธศาสนามายาวนาน เมื่อสังคมโลกเปิดกว้างเข้าไปสู่กระแสแห่งยุคโลกาภิวัฒน์ พระพุทธศาสนา จึงเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ที่จะสามารถนำหลักไตรสิกขามาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในแบบองค์รวม 2) ความสัมพันธ์ของพุทธกระบวนทัศน์กับวิถีปฏิบัติของพระมหาเถระนั้น พบว่าสิกขา 3 คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญาให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน อันเป็นข้อวัตรปฏิบัติของพระมหาเถระ ที่เป็นพระสุปฏิปันฺโนมีศีลาจารวัตรน่าเลื่อมใส นำมาซึ่งความศรัทธาทั้งในสังคมไทยและในต่างประเทศและ 3) พุทธกระบวนทัศน์กับการสร้างอัตลักษณ์และวิถีปฏิบัติแห่งพระสงฆ์ไทย พบว่าในสังคมไทยนั้นองค์กรแห่งสงฆ์ต้องมีการ นำหลักไตรสิกขาในระดับ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญา โดยมีหลักโยนิโสมนสิการวิทยา คือ 3.1) การคิดถูกวิธี ถูกต้องตามหลักการ ประกอบด้วยเหตุผล 3.2) การคิดอย่างเป็นระเบียบ อย่างเป็นขึ้นตอน 3.3) การคิดอย่างมีเหตุผล ให้มีความเชื่อมโยงอย่างถูกต้อง และ 3.4) การคิดแบบเร้าต่อกุศล สร้างสรรค์สิ่งที่ดี กระบวนทัศน์เหล่านี้จะนำไปสู่การคิดและเป็นแนววิถีปฏิบัติให้กับพระสงฆ์ไทยอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
พระครูพิพิธจารุธรรม, พระปลัดดำรงค์ ภทฺทมุนี, & มณีจักร์ เ. . (2021). พุทธกระบวนทัศน์กับวิถีปฏิบัติของพระมหาเถระในสังคมไทย. วารสารวิจยวิชาการ, 5(1), 55–66. https://doi.org/10.14456/jra.2022.5
บท
บทความวิจัย

References

โกศล ช่อผกา. (2542). พุทธกระบวนทัศน์เชิงนิเวศวิทยาแนวลึก. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

คณะศิษยานุศิษย์. (2535). อุปลมณี. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

คณาจารย์ มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2528). คัมภีร์ปกรณ์วิเศษ วิสุทธิมรรค เล่ม 1-2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

บรรยวัสถ์ ฝางคำ และคณะ. (2561). ชุมชนไตรสิกขา : รูปแบบและการ เสริมสร้างคุณภาพชีวิตในสังคมผู้สูงอายุจังหวัดอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย: วิทยาเขตอุบลราชธานี.

พระเสริม ปัญญาสาโร (ยายเนียม). (2556). ศึกษาหลักวิปัสสนากรรมฐานตามคำสอนของพระโพธิญาณเถระ (ชา สุภัทโท). (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2540). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุนทรกิตติคุณ. (2559). หลักพุทธธรรมกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในผู้สูงอายุ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 3(1), 11-25.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิทย์ วิทยเวทย์ และเสถียรพงษ์ วรรณปก.(2533). พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.