การพัฒนารูปแบบและเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของโรงเรียนผู้สูงอายุ

Main Article Content

พระครูพิสุทธิปัญญาภิวัฒน์
พระครูวศินวรกิจ
พระครูพิจิตรวรเวท
วิชิต ไชยชนะ
นพวรรณ์ ไชยชนะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของโรงเรียนผู้สูงอายุ และ 3) เสริมสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของโรงเรียนผู้สูงอายุ ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี โดยการแจกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .895 กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 240 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครชี่และมอร์แกนสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จากประชากรที่เป็นนักเรียนผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเครือข่ายพื้นที่การขับเคลื่อนงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) วิทยาลัยผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2561 และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน และสนทนากลุ่มเชิงวิพากษ์กับผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินรูปแบบ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบประเมินและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ 3 กลุ่มวิชาคือวิชาชีวิต กลุ่มวิชาชีพและกลุ่มวิชาการ 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของโรงเรียนผู้สูงอายุพบว่า โครงการส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ:วิทยาลัยผู้สูงอายุ กิจกรรมภายในโรงเรียนให้ความรู้ด้าน นันทนาการ ฝึกอาชีพ ถ่ายทอดภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม สมุนไพรฯ ภายนอกโรงเรียนร่วมกิจกรรมทางศาสนาประเพณี อาสาสมัคร เยี่ยมเยียนผู้สูงอายุฯ โดยมีคณะกรรมการดำเนินงาน 5ก ตามหลักสูตรวิทยาลัยผู้สูงอายุจังหวัดพิจิตร ความจำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุในสังคมไทย การสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ การมีบทบาทต่อกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ การจัดการความเครียดและอารมณ์ ความมั่นคงแห่งชีวิตและสวัสดิการของผู้สูงอายุ เศรษฐกิจชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ 3) การเสริมสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของโรงเรียนผู้สูงอายุ อบจ.พิจิตร ได้อนุมัติให้จัดทำโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมผ่านวิทยาลัยผู้สูงอายุจังหวัดพิจิตร เป็นกระบวนการที่เกิดจากการบูรณาการร่วมกันผ่านหน่วยงานของจังหวัดพิจิตร

Article Details

How to Cite
พระครูพิสุทธิปัญญาภิวัฒน์, พระครูวศินวรกิจ, พระครูพิจิตรวรเวท, ไชยชนะ ว. ., & ไชยชนะ น. (2021). การพัฒนารูปแบบและเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของโรงเรียนผู้สูงอายุ. วารสารวิจยวิชาการ, 5(1), 11–26. https://doi.org/10.14456/jra.2022.2
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา คิดดี. (2547). การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

จารีรัตน์ ปรกแก้ว และคณะ. (2546). ศึกษาและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกันระหว่างโรงเรียนในระบบกับชุมชน เพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน: กรณีศึกษาพื้นที่ภูมิปัญญาท้องถิ่นบุรีรัมย์ ในเขตการเคลื่อนไหวของโรงเรียนชุมชนอีสาน. (รายงานการวิจัย). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.): มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ดวงใจ คำคง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พวงนรินทร์ คำปุก. (2558). ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องในการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. (รายงานการวิจัย). ใน การประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15 (น.139-150). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เพ็ญจันทร์ เชอร์เรอร์. (2557). การสร้างภูมิคุ้มกันภัยทางสังคมให้แก่ผู้สูงอายุ. (รายงานการวิจัย). สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

ยุพิน ทรัพย์แก้ว. (2559). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(2), 25-39.

วรนาถ พรหมศวร และ ศุภรนิช วสุกาญจนเวช. (2559). โรงเรียนผู้สูงอายุ มุมมองตามบริบทชุมชนท้องถิ่นสุรินทร์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “ราชมงคลสุรินทร์วิชาการ ครั้งที่ 8” (น.115-127). สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์.

วิทยา จันทร์แดง. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตภาคกลางตอนบน. (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร และคณะ. (2560). การถอดบทเรียนตัวอย่างที่ดีของโรงเรียนและชมรมผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมถ่ายทอดความรู้. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส).

สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2554). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ระยะที่ 1). (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร. (2561). หลักสูตรวิทยาลัยผู้สูงอายุจังหวัดพิจิตร. (อัดสำเนา).

อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ. (2553). ข้อเสนอการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ. (รายงานการวิจัย). กระทรวงศึกษาธิการ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ. (2555). การศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการ และรูปแบบการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเตรียมความพร้อมเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของผู้ใหญ่วัยทำงาน. วารสารครุศาสตร์, 40(2), 20-34.