การมีส่วนร่วมของวัดและชุมชนในการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งขันเรือยาว จังหวัดพิจิตร

Main Article Content

พระครูพิจิตรวรเวท
พระอุดมสิทธินายก
พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร
พระมหาสุเมฆ สมาหิโต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบสภาพทั่วไปการมีส่วนร่วมของวัดและชุมชนในการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งขันเรือยาวจังหวัดพิจิตร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 2) นำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของวัดและชุมชนในการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งขันเรือยาวจังหวัดพิจิตร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 395 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าที ค่าเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง การสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 รูปหรือคน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งขันเรือยาวของวัดและชุมชนในจังหวัดพิจิตร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานะ อาชีพ และระดับรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และ 2) รูปแบบการมีส่วนร่วมของวัดและชุมชนในการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งขันเรือยาวจังหวัดพิจิตร พบว่า มีองค์ประกอบ 3 ส่วน “PMS. Model” คือ 2.1) P (Participation) การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งขันเรือยาว 4 ด้าน คือ ร่วมป้องกันข้อผิดพลาด ร่วมปฏิบัติการรีบแก้ไข ร่วมใส่ใจพัฒนาและรังสรรค์ และร่วมกันสืบทอดให้มั่งคง 2.2) M (Management) กระบวนการบริหารจัดการ ประกอบด้วย นโยบายชัด จัดทำแผนดี มีวิธีดำเนินการ ประสานตรวจสอบ วางกรอบแก้ไข 2.3) S (Stakeholders) บทบาทผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย วัดในฐานะผู้ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วม ชุมชนในฐานะผู้สนับสนุนเข้ามามีส่วนร่วม และหน่วยงานภาครัฐในฐานะเข้ามามีส่วนร่วมผ่านระบบกลไกของรัฐตามอำนาจหน้าที่เฉพาะของหน่วยงานของตน

Article Details

How to Cite
พระครูพิจิตรวรเวท, พระอุดมสิทธินายก, พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร, & พระมหาสุเมฆ สมาหิโต. (2022). การมีส่วนร่วมของวัดและชุมชนในการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งขันเรือยาว จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 1–14. https://doi.org/10.14456/jra.2022.27
บท
บทความวิจัย

References

ขวัญทอง สอนศิริ. (2564). เรือยาว มรดกวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ. เข้าถึงได้จาก https://www. trueplookpanya.com/learning/detail/20068

ญาณิศา บุญจิตร์ และสุชาติ มีสมบัติ. (2554). การอนุรักษ์และสืบสานประเพณีแห่พระแข่งเรือยาวขึ้นโขนชิงธงอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (รายงานการวิจัย). กระทรวงวัฒนธรรม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร.

นวมณฑ์ อุดมรัตน์. (2558). การศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ: กรณีศึกษาชุมชนเลียบคลองมอญ แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), 301-310.

รัตนา จันทร์เทาว์. (2559). พลวัตของบทบาทหน้าที่ประเพณีการแข่งเรือยาวในภาคอีสาน. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 33(3), 115-134.

ศรคม เผือกผิววงศ์ และคณะ. (2560). แนวทางการสร้างความร่วมมือในชุมชนด้วยพุทธสันติวิธี: กรณีศึกษาชุมชนวัดคู้บอน เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 134-145

สุพัตรา คงขำ และเครือวัลย์ คงขำ. (2561). แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านการชักแห่เรือพระบกของตำบลเขาใหญ่ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 10(2), 277-288.