การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11

Main Article Content

ยุทธชัย จริตน้อม
วาโร เพ็งสวัสดิ์
วัลนิกา ฉลากบาง
พรเทพ เสถียรนพเกล้า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารสู่การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารเพื่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ขั้นที่ 2 ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบและขั้นที่ 3 การประเมินองค์ประกอบของรูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย 13 คน ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คนและการประเมินรูปแบบ จำนวน 10 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างและแบบประเมินรูปแบบ มี 2 ตัวเลือก ได้แก่ เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ค่าร้อยละและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษา แนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสู่การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบ ประกอบด้วย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู มี 3 ปัจจัย ขอบข่ายการบริหารเพื่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มี 4 ด้าน กระบวนการบริหารเพื่อการเป็นการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มี 5 ขั้น และผลสัมฤทธิ์การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มี 2 ด้าน 2) ผลการศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสู่การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบ ประกอบด้วย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู มี 4 ปัจจัยของขอบข่ายการบริหารเพื่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มี 6 ด้าน กระบวนการบริหารเพื่อการเป็นการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มี 5 ขั้น และผลสัมฤทธิ์การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มี 2 ด้าน และ 3) การประเมินองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารเพื่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษา พบว่า ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยกับองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารเพื่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษาทุกด้านร้อยละ 100

Article Details

How to Cite
จริตน้อม ย., เพ็งสวัสดิ์ ว. ., ฉลากบาง ว. ., & เสถียรนพเกล้า พ. . (2021). การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11. วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 193–204. https://doi.org/10.14456/jra.2021.93
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). การจัดการศึกษาทางเลือกในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

แก้วเวียง นำนาผล. (2554). การจัดการความรู้ในสถานศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. ร้อยเอ็ด: มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

คัมภีร์ สุดแท้. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เฉลิมชัย อ้อเสถียร. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคกลาง. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นันท์นภัส ชัยสงคราม. (2561). การเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพทางการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา). วิทยาลัยครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บุญธรรม อ้วนกันยา. (2562). กลยุทธ์การบริหารงานการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วรกัญญาพิไล แกระหัน. (2555). ภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วรลักษณ์ ชูกำเนิดและเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบท โรงเรียนในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 12(2), 123-134.

วิจารณ์ พานิช. (2558). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วิทิตา สุขทั่วญาติ, (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในทศวรรษหน้าของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(1), 10-21.

วีรศักดิ์ มุงคุณ. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 10(28), 65-80.

สมพร เสรีวัลลภ. (2554). แผนปฏิบัติราชการ ประจำปี พ.ศ. 2554. (อัดสำเนา).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2543). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559) : ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สิริลักษณ์ สามารถ. (2554). โปรแกรมพัฒนาครูเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุธิดา การีมี. (2562). การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา ตอนที่ 4. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุวิทย์ เฆษินทรีย์. (2560). ไทยแลนด์ 4.0 กับอนาคตประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.