พฤติกรรมการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Main Article Content

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ
อธิพงษ์ เพชรสุทธิ์

บทคัดย่อ

ทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำแนกตาม เพศ และชั้นปี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยการแจกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนกับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 25,518 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 379 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน และ 2) การเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำแนกตามเพศ และชั้นปี ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
เพชรสมบัติ พ. ., & เพชรสุทธิ์ อ. . (2021). พฤติกรรมการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี . วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 235–244. https://doi.org/10.14456/jra.2021.96
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ พ ศ 2545-2549. กรุงเทพฯ: อรรถพลการพิมพ์.

ชำนาญ ด่านคำ.(2559). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 23-31.

ทัศนาวลัย ตันติเอกรัตน์. (2559). พฤติกรรมการเข้าเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการคิดและการตัดสินใจของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ตรัง. ใน รายงานการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7. (น. 1038). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ผ่องใส เพ็ชรรักษ์และคณะ. (2558). การศึกษาถึงการศึกษาพฤติกรรมการเรียนที่มีผล ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา สาขาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (รายงานผลการวิจัยในชั้นเรียน). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์: คณะบริหารธุรกิจ.

สำนักงานการปฏิรูปการศึกษา. (2544). การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานการรูปการศึกษา (สปศ) องค์กรมหาชนเฉพาะกิจ.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2562). ข้อมูลผลการเรียนนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2562. (อัดสำเนา).

อรพิณ ศิริสัมพันธ์ (2550). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (รายงานการวิจัย). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Rycroft, C. & G. M. Carstairs. (1968). Anxiety and Neurosis. London: Routledge.

Uris, A. (1970). The Executive Desk Book. New York: Van Nostrand Reihold.

Weinstein, C. E., & Palmer, D. R. (2002). Learning and Study Strategies Inventory (LASSI): User’s manual. (2nd ed.). Clearwater, FL: H & H Publishing.