การบริการสาธารณะแนวใหม่โดยใช้ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ กรณีศึกษาสถานการณ์ COVID 19

Main Article Content

พฤกษา สินลือนาม
กรฤทธิ ชุมนูรักษ์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสะท้อนให้เห็นแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ โดยใช้ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลมากจากการปฏิรูประบบสุขภาพของพลเมืองไทยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี ฯลฯ และสิ่งสำคัญที่สุดคือตอบสนองความต้องการของประชาชนในด้านสุขภาพและการสาธารณสุขที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง บทความฉบับนี้ประกอบด้วยเนื้อหา 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่งพัฒนาการของแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานภาครัฐ ส่วนที่สองแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ ส่วนที่สามธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ ทำโดยพื้นที่ เพื่อพื้นที่ และส่วนที่สี่ความท้าทายของการบริการสาธารณะแนวใหม่โดยใช้ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ในสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ COVID ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ ในฐานะผู้ให้บริการทำหน้าที่ขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม เห็นความสำคัญของการบริการสาธารณะแนวใหม่ โดยใช้ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ COVID 19 โดยส่งเสริม สนับสนุน เอื้ออำนวยความสะดวก เปิดพื้นที่ให้มีวงพูดคุยถกแถลงร่วมกันของทุกภาคส่วน ขณะเดียวกันภาคประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมคิด ร่วมกำหนด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมปฏิบัติ และติดตามผล ซึ่งก่อให้เกิดการเสริมสร้างจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนและนำไปสู่ความเป็นพลเมืองตื่นรู้ร่วมขับเคลื่อน “สังคมสุขภาวะ”

Article Details

How to Cite
สินลือนาม พ., & ชุมนูรักษ์ ก. . (2021). การบริการสาธารณะแนวใหม่โดยใช้ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ กรณีศึกษาสถานการณ์ COVID 19 . วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 283–294. https://doi.org/10.14456/jra.2021.100
บท
บทความวิชาการ

References

นราธิป ศรีราม และคณะ. (2556). การสังเคราะห์แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์. (2558). การบริหารงานสาธารณะ: จากภาครัฐสู่ภาคพลเมือง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(3), 161-179.

ปกรณ์ ศิริประกอบ. (2562). 3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปปฏิบัติจริง. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประทีป ธนกิจเจริญ. (2563). ส่องสังคมไทยหลังโควิด 19 ตอกย้ำความสำคัญการกระจายอำนาจปูทางสู่การปฏิรูปประเทศ. เข้าถึงได้จาก http://www.nationalhealth.or.th/node /3096.

ษิตาพร สุริยา. (2558). กระแสการปฏิรูประบบสุขภาพบนฐานแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(3), 182-199.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2560). ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อีแอนด์ไอ ครีเอทพลัส จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2563). เรื่องเล่าพลังชุมชนสู้ภัยโควิด-19. เข้าถึงได้จาก https://infocenter.nationalhealth.or.th/node/28177.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2563). รู้จัก สช. เข้าถึงได้จาก https://www. Nationalhealth.or.th/it-is-all-about-us.

สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2559). การบริหารงานภาครัฐ: จากคำประกาศแห่งเมืองแบล็คเบิร์ก (Blacksburg Manifesto) สู่การบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service: NPS). เข้าถึงได้จาก https://reru.ac.th/articles/images/vijai_13_09_59_2.pdf.

Frederickson, G. (1991). Toward a New Public Administration. Administration & Society 22(4), 395-417.

Hood, C. (1991). A Public Management for All Seasons?. Public Administration, 69(1), 3-19.

Denhardt, R. B. and Denhardt, J. V. (2000). The New Public Service: Serving Rather than Steering. Public Administration Review, 60(1), 549-559.

Robinson, Mark. (2015). From Old Public Administration to the New Public Service Implications for Public Sector Reform in Developing Countries. Retrieved from www.undp.org/publicservice