ธรรมาภิบาลในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับธรรมาภิบาล 2) ปัจจัยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และ 3) ปัญหาและเสนอแนวทางในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยการแจกแบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่น 0.965 กับกลุ่มตัวอย่าง 252 คน จากประชากรทั้งหมด 623 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย คำนวณตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับธรรมาภิบาลในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงใหม่อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ปัจจัยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์มีความสัมพันธ์กับระดับธรรมาภิบาลในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัญหาที่พบคือ เจ้าหน้าที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ขาดการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานงบประมาณในการดำเนินการยังเป็นตัวกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง หน่วยงานยังมีการผูกขาดกับผู้รับจ้างรายเดิม อำนาจในการตัดสินใจจัดซื้อจัดจ้างยังคงเป็นของผู้บริหาร สำหรับแนวทางในการเสริมสร้างธรรมาภิบาล พบว่า ควรจัดให้มีการอบรมพัฒนาให้ความรู้เกี่ยวกับระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ควรมีการติดตามประเมินผลการผลการปฏิบัติงานด้านการจัดซื้อจัดจ้าง สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลให้แก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดจ้าง ควรมีการพัฒนาระบบและจัดทำคู่มือการจัดซื้อจัดจ้างให้ง่ายต่อการใช้งาน
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรกร อ่อนน่วม และณาน เรืองธรรมสิงห์. (2562). ปัญหาและอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(2), 222-233.
เชษฐ์ธิดา ชูแก้ว, ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์และสุคนธ์ เครือน้ำคำ. (2560). ปัญหาและอุปสรรคต่อกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 (น. 648-659). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ณัษฐนนท ทวีสิน และธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์. (2561). ธรรมาภิบาลในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสาร วิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 4(2), 247-259.
ตรีเพชร์ จิตรมหึมา. (2562). การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตตามกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ .(รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยศรีปทุม: คณะนิติศาสตร์.
ธวัช ชัยแก้ว. (2550). ปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
“ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560”. (2560, 23 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนพิเศษ 210 ง, หน้า 1-72.
รินทร์ชิสา เกล็ดประทุมกานต์ และพงษ์เสถียร เหลืองอลงกต (2563). อิทธิพลของธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์. วารสาร มจร.สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(2), 13-26.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (2561). แนวทางในการขับเคลื่อนหลักธรรมาภิบาลเพื่อสกัดกั้นการทุจริต. เข้าถึงได้จากhttp://www. nacc.go.th/more_news.php?cid=1634&filename=index
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3nd ed). New York: Harper and Rows.