“การมีส่วนร่วม” ความปรองดองสมานฉันท์: พลังบวรในสังคมไทย

Main Article Content

พระครูใบฎีกาสุวินท์ สุวิชาโน
พระครูวิโชติสิกขกิจ
พระครูอุทัยกิจจารักษ์
สุภางค์พิมพ์ คล้ายธานี
ปริญญา นิกรกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วม 2) วิเคราะห์กระบวนการมีส่วนร่วม และ 3) เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมตามหลักบวรเพื่อสร้างสังคมแห่งความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ รวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเอกสาร การวิจัยภาคสนาม ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูป/คน การสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ 30 จำนวน รูป/คน และการจัดเวทีในการเก็บข้อมูลกับพระสงฆ์, ผู้นำชุมชน กลุ่มที่เข้าร่วมโครงการ (ปรองดอง) วิศวกรสันติภาพ ปราชญ์ชาวบ้าน และประชาชนทั่วไป จำนวน 191 รูป/คน การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และอธิบายด้วยวิธีพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) การดําเนินงานการพัฒนาชุมชนบ้านเขาเขียว บ้านไผ่รอบ บ้านศิลา โดยร่วมคิด ร่วมตัดสินใจแก้ปัญหาของชุมชน ร่วมใช้ความคิด ความรู้ ประสบการณ์ สถานการณ์ด้านสังคม เศรษฐกิจ ภาษา วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับบ้าน วัด ส่วนราชการในพื้นที่ 2) คนในชุมชนใช้กระบวนการมีส่วนร่วมตามหลัก พลังบวร ผ่านกิจกรรมป่าชุมชนที่มีพื้นที่ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เส้นทางธรรมชาติ (ธรรมชาติกับชุมชน) ความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษไทยทรงดำ พิพิธภัณฑ์ไทยทรงดำ การถ่ายทอดการรำไทยทรงดำให้เยาวชน ลานวัฒนธรรมไทดำ (วัฒธรรมกับชุมชน) และการปลูกดอกไม้ ร้อยมาลัยขาย การแข่งขันการร้อยมาลัย ตลาดดอกไม้ สิม (วัดโพธิ์ศรี) งานบุญเบิกบ้าน บุญผเวส ศาลหลักบ้าน และฮีตสิบสองคองสิบสี่ (วิถีชีวิตกับชุมชน) และ 3) การเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมตามหลักบวรที่ดำเนินผ่านการท่องเที่ยวด้านสัตว์ป่าในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมป่าไม้ การจัดมหกรรมไทยทรงดำจังหวัดพิจิตรร่วมกับวัดไผ่รอบ เทศบาลตำบลไผ่รอบ กิจกรรมถนนดอกไม้จังหวัดขอนแก่นร่วมกับวัดป่าสุนทรวนาราม เทศบาลเมืองศิลา เป็นต้น

Article Details

How to Cite
พระครูใบฎีกาสุวินท์ สุวิชาโน, พระครูวิโชติสิกขกิจ, พระครูอุทัยกิจจารักษ์, คล้ายธานี ส. ., & นิกรกุล ป. . (2021). “การมีส่วนร่วม” ความปรองดองสมานฉันท์: พลังบวรในสังคมไทย. วารสารวิจยวิชาการ, 5(1), 41–54. https://doi.org/10.14456/jra.2022.4
บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา. (2558). การขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมโดยพลังบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) สู่สังคมคุณธรรมที่มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน. เข้าถึงได้จาก https://www.dra.go.th /site.2560/ about. Thai-29-224-0-0.0.html

ประเทือง ม่วงอ่อน. (2561). บทความปริทรรศน์หนังสือ Book Review ว่าด้วยความปรองดอง. วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal), 7(2), 655-663.

พระณัฏฐ์ธนชัย จันดาผล, พระพรสวรรค์ ใจตรง, พระกัญจน์ แสงรุ่ง, พระจรัญ สุวโจ. (2563). การศึกษาการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวรของวัดจำปา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(1), 183-193.

พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ, พระมหากำพล คุณงฺกโร. (2559). การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ด้วยการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(3), 45-61.

พระมหาประกาศิต ฐิติปสิทธิกร. พระปลัดประพจน์ อยู่สำราญ. สัญญา สดประเสริฐ. (2563). จิตสำนึกความเป็นพลเมืองดีในการพัฒนาชุมชนและความเป็นเมืองเชิงพุทธ ในจังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 63-80.

ภาสกร ดอกจันทร์, รพีพร ธงทอง, สุรพล พรมกุล. (2563). การสร้างความปรองดองของประชาชนในจังหวัดเลย ตามหลักธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้มีการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 3(1), 87-96.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2558). รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ครบรอบ 1 ปี (12 กันยายน 2557-12 กันยายน 2558). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

วัดปากน้ำภาษีเจริญ. (2564). โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5. เข้าถึงได้จาก https://www.sila5.com/

ศิวัช ศรีโภคางกุล, อินธิดา จำนงนิตย์. (2560). ทำความเข้าใจกระบวนการปรองดองของรัฐบาลอินเดียภายใต้รัฐบาลนายกรัฐมนตรีซิกข์มานโม ฮัน ซิงห์ ต่อเหตุการณ์ความรุนแรงที่กระทาต่อชาว ซิกข์ในปี 1984-1993. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 1472-1488.

ศิวัช ศรีโภคางกุล. (2560). เมื่อประเทศเฮติ ประเทศเล็กๆ หาญกล้าในการหา “ความจริงระดับโลก” ต่อประเทศ สหรัฐอเมริกา: กระบวนการสร้างความปรองดองในประเทศเฮติ. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(1), 1851-1864.

อรรถจักร สัตยานุรักษ์. (2559). ลืมตาอ้าปาก “จากชาวนา” สู่ “ผู้ประกอบการ”. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.