แนวทางการเสริมสร้างทุนชุมชนให้เข้มแข็งสู่การกำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จ จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

ตรงกมล สนามเขต
นิตยา กาบจันทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของทุนชุมชน 2) พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุนชุมชน 3) สังเคราะห์แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุนชุมชนสู่การกำหนดปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้รู้อยู่ในพื้นที่ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้ากลุ่มองค์กรต่างๆ อาสาสมัครสาธารณสุข ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 3 อำเภอ ๆ ละ 3 ตำบล ๆ ละ 3 หมู่บ้านละ 5-8 คน รวมเป็นจำนวน 195 คน โดยเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร และสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบทุนชุมชน ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ทุนสถาบัน กองทุนชุมชน ทุนทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) รูปแบบการพัฒนาทุนชุมชนพบว่ามีการจัดการตนเองภายในชุมชนและมีการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก เช่น มีการตั้งเครือข่ายคณะกรรมการ เป็นผู้บริหารจัดการดูแลกิจกรรมด้านการเกษตร สังคมและวัฒนธรรม และ 3) แนวทางการเสริมสร้างทุนชุมชนให้เข้มแข็ง พบว่าภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนมีความตระหนักถึงทุนชุมชนที่คงอยู่ เริ่มรณรงค์ปลูกฝังคุณค่าทุนชุมชนที่โดดเด่น มีการทำข้อตกลงเพื่อสร้างจิตสำนึกให้มีความร่วมมือกันและอนุรักษ์ฟื้นฟูสืบต่อให้คนรุ่นใหม่ ทั้งนี้ปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จคือ การเสริมสร้างและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชน การสร้างศรัทธาและพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน และการถ่ายทอดความรู้จากการลงมือปฏิบัติสู่การนำใช้และการขยายผลต่อยอด

Article Details

How to Cite
สนามเขต ต., & กาบจันทร์ น. . (2021). แนวทางการเสริมสร้างทุนชุมชนให้เข้มแข็งสู่การกำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จ จังหวัดอุตรดิตถ์ . วารสารวิจยวิชาการ, 5(1), 129–144. https://doi.org/10.14456/jra.2022.11
บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

ชนันภรณ์ อารีกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุนทางสังคมเพื่อการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน). คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐธิดา เย็นบำรุง. (2558). ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิตร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมปัญญาสาธารณะภายใต้แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่ออนาคตของเมือง.

นภาภรณ์ ทะวานนท์, เพ็ญศิริ จีระเดชากุล และจีรวุฒิ ปัทไธสง. (2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์.

พระปลัดประพจน์ อยู่สำราญ และรัชฎาพร เกตานนท์ แนวแห่งธรรม. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(2), 187-199.

วันชัย สุขตาม. (2556). การพัฒนาทุนมนุษย์วิถีพุทธในยุคโลกาภิวัฒน์: รูปแบบและแนวปฏิบัติ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 2(2), 521-522.

วรวุฒิ โรมรันพันธ์ (2548). ทุนทางสังคม. กรุงเทพฯ: โครงการสร้างเสริมการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560ก). ร่างยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี. เข้าถึงได้จาก www.nesdb.go.th

อนุชาติ พวงสำลี อาภรณ์ จันทร์สมวงศ์ และพีรพัฒน์ โกศลศักดิ์สกุล. (2542). บทสังเคราะห์ความเคลื่อนไหวของภาคีอันหลากหลายในขบวนการประชาสังคมไทย ใน ขบวนการประชาสังคมไทย: ความเคลื่อนไหวภาคพลเมือง. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยและพัฒนาประชาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2551). การศึกษาในวิถีชุมชน: การสังเคราะห์ประสบการณ์ในชุดโครงการ วิจัยด้านการศึกษากับชุมชน. กรุงเทพฯ: ซิโน พับบิชชิ่ง จำกัด.