สุขภาวะองค์รวมเชิงพุทธของพระสงฆ์: นโยบาย สิทธิประโยชน์ และรูปแบบการเกื้อกูลต่อชุมชนในสังคมไทย

Main Article Content

พระมหาประยูร โชติวโร (คำมา)
ปฏิธรรม สำเนียง
นงลักษณ์ ยอดมงคล
ชาลีมาศ ตันสุเทพวีรวงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและระบบการจัดการดูแลสุขภาวะองค์รวมของพระสงฆ์ รวมทั้งเสนอนโยบาย สิทธิประโยชน์และรูปแบบการดูแลสุขภาวะองค์รวมของพระสงฆ์ในสังคมไทย เป็นการศึกษาวิจัยเชิงนโยบาย มีขั้นตอนของกระบวนการวิจัย คือ 1) ขั้นการระบุปัญหา 2) ขั้นกำหนดเป็นวาระในการตัดสินใจ  3) ขั้นกำหนดข้อเสนอเชิงนโยบาย ผลการวิจัย พบว่า 1) การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทย พบว่า พระสงฆ์ส่วนใหญ่ใช้สิทธิประกันสุขภาพบริษัทเอกชน 38.80% รองลงมาสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท และสิทธิประกันสุขภาพกองทุน/กลุ่มภาคประชาชน ที่ 32.66% และ 15.94% ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของพระสงฆ์ยังไม่เป็นไปตามที่รัฐกำหนด และการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในกองทุนท้องถิ่นหรือพื้นที่ยังมีน้อยมาก 2) ระบบการจัดการดูแลสุขภาวะองค์รวมของพระสงฆ์ พบว่า มีการประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ เพื่อใช้เป็นกรอบในการดูแลสุขภาวะองค์กรสงฆ์และสร้างสุขภาวะชุมชน มี 4 รูปแบบ คือ (1) ระบบการจัดการดูแลสุขภาวะองค์รวมพระธรรมวินัย (2) ระบบการจัดการดูแลสุขภาวะองค์รวมของพระสงฆ์ (3) ระบบการจัดการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์ตามธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ และ (4) ระบบการจัดการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 3) นโยบาย สิทธิประโยชน์และรูปแบบการดูแลสุขภาวะองค์รวมของพระสงฆ์ในสังคมไทย พบว่า นโยบาย สิทธิประโยชน์ด้านสุขภาวะองค์รวมของพระสงฆ์ ได้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูล การสื่อสารและทำความเข้าใจเพื่อการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของพระสงฆ์ การจัดให้มีพระคิลานุปัฏฐากประจำวัด และการพัฒนาวัดส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งต้องมีภาคีเครือข่ายที่ด้านสุขภาพหนุนเสริม และการส่งเสริมบทบาทการเป็นผู้นำทางด้านสุขภาวะทางปัญญาของพระสงฆ์ในการสร้างสุขภาวะองค์กรสงฆ์นำไปสู่การสร้างสุขภาวะทางสังคม

Article Details

How to Cite
พระมหาประยูร โชติวโร (คำมา), สำเนียง ป. ., ยอดมงคล น. ., & ตันสุเทพวีรวงศ์ ช. . (2022). สุขภาวะองค์รวมเชิงพุทธของพระสงฆ์: นโยบาย สิทธิประโยชน์ และรูปแบบการเกื้อกูลต่อชุมชนในสังคมไทย. วารสารวิจยวิชาการ, 5(4), 1–12. https://doi.org/10.14456/jra.2022.79
บท
บทความวิจัย

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2549). สถิติการอาพาธของพระสงฆ์ที่มารับการตรวจรักษา พ.ศ.2549. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลสงฆ์ งานเวชระเบียนและสถิติ.

ครูพระดอทเนต. (2552). ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย. เข้าถึงได้จาก <http://www.kroophra.net/index.php>.

เนาวรัตน์ เจริญค้าและคณะ. (2546). การสูบบุหรี่ของพระภิกษุสงฆ์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและสถาบันวิจัยสังคม. (2555). การประชุมวิชาการมหกรรมการเรียนรู้ พย.สสส. ครั้งที่ 2 “บ่มเพาะนักศึกษาพยาบาล สู่การเป็นนักสร้างเสริมสุขภาพ”. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

อัญชลี ประคำทอง. (2544). การประเมินผลโครงการดำเนินงานสุขภาพจิตโดยพระสงฆ์. ในประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 7 ปี 2544 “ความสุขที่พอเพียง” (น. 89). นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต.

อุทัย สุดสุข. (2544). สาธารณสุขในพระไตรปิฏก: บูรณาการสู่สุขภาพดี ชีวีมีสุข. นนทบุรี: เทพประทานการพิมพ์.