การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบยั่งยืนเชิงพุทธ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนแนวพุทธศาสตร์ พบว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบยั่งยืนเชิงพุทธ แนวคิดนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีดุลยภาพครบทั้งสามด้าน อันประกอบด้วย ด้านชีวิตมนุษย์ ด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีหลักการที่สำคัญเพื่อประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่ ลดการเบียดเบียนกัน และเกื้อกูลต่อกัน โดยการพัฒนานิสัยดีของมนุษย์ให้เกิดขึ้นพร้อมกับปลูกฝังสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นถูกต้อง ตามหลักมัชฌิมาปฏิปทาในห้าห้องชีวิต และปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ สังคหวัตถุ 4 เบญจศีล และเบญจธรรม อีกทั้งยึดหลักการปกครองตามหลักธัมมาธิปไตยไปพร้อมกัน แล้วจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีความสุขในการดำรงชีวิต สังคมเกิดสงบร่มเย็น และสิ่งแวดล้อมถูกอนุรักษ์อย่างยั่งยืน โดยมนุษย์ได้ปฏิบัติตามหลักมัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
จิรากรณ์ คชเสนี. (2555). มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 7 (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนภณ สมหวัง. (2560). พุทธศาสนากับการพัฒนาไทยแลนด์ 4.0. เข้าถึงได้จาก https://www. bangkokbiznews.com/blog/detail/641259
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2562). ศาสนากับเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs). เข้าถึงได้จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/20276
พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว). (2555). สัมมาทิฏฐิในวงการศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเอสพริ้นติ้ง.
วิจิตร คดเกี้ยวและประเวศ อินทองปาน. (2560). การศึกษาเชิงวิเคราะห์มรรคมีองค์ 8 ในพุทธปรัชญาเถรวาทกับภาวะสมดุลของระบบนิเวศ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13(3), 82-95.
วิทยากร เชียงกูล. (2557). เพื่อการปฏิรูปมนุษย์และสังคมอย่างลึกซึ้ง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาว.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). การพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
สามารถ สุขุประการ. (2563). Buddhist: Development for sustainable. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาสัมมนาพระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ (อัดสำเนา).
สามารถ สุขุประการ. (2563). อธิปไตย 3. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาสัมมนาพระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ (อัดสำเนา).
เอกสิทธิ์ สนามทอง. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: แนวทางพัฒนาสู่ความสำเร็จขององค์การ. วารสารเกษมบัณฑิต, 20(1), 65-77.